ระฆังสำริด สมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓

Share on facebook
Facebook
Share on email
Email
พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป

            ระฆังสำริดวัดพระรูปหล่อขึ้นในสมัยอยุธยา มีรูปทรงระฆังเป็นแบบที่นิยมกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีความสูงรวม ๘๖ ซม. เฉพาะระฆังสูง ๔๖ ซม. ปากระฆังกว้าง ๓๙.๕ ซม. น้ำหนักประมาณ ๑๐๐ กก. หูระฆังหล่อเป็นรูปหัวนาค ๔ หัว อันเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายถึงการเชื่อมต่อโลกมนุษย์กับสวรรค์ ความสำคัญของระฆังสำริดใบนี้คือ ปรากฏจารึกข้อความระบุ พ.ศ. ๒๒๔๒ ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงความสำคัญและพัฒนาการของวัดพระรูปที่สืบย้อนไปในสมัยอยุธยาช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓
            ในเมืองสุพรรณบุรี นอกเหนือจากระฆังสำริดวัดพระรูปที่ปรากฏจารึกแล้ว ยังพบระฆังที่ปรากฏจารึกปีการสร้างอีก ๒ แห่งคือ วัดป่าพฤกษ์ ปรากฏจารึกว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๒๔๐ และวัดโพธิ์คลาน ปรากฏจารึกว่าสร้างใน พ.ศ. ๒๑๘๑ ระฆังทั้ง ๒ ใบนี้มีรูปแบบคล้ายกับระฆังสำริดวัดพระรูปและยังอยู่ร่วมสมัยกันคือในสมัยอยุธยาช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๓

            คำจารึกและคำอ่าน
            (บรรทัดบน)    (คำจารึก) พระสางส่มภาร
                                   (คำอ่าน)   พระสางสมภาร

            (บรรทัดล่าง)   (คำจารึก)  สับภ่มัดสะดุ พุทธ่สักราชใด้ ๒๒๔๒ พระว่สา เจา แม่ธ_ท่ง พระราชะสทัธาเปันสาดนูปะถำ ส(างระฆัง) ไวเปนพุทบูชาสำรับพระสาดนัาไหรูงเรองถวนเถิงห้าพนัพระวะษาข่อจ่งเปันปัดจัย โพทิญาณไนอะนาคตกาล
                                    (คำอ่าน)  ศัภมัศดุพุทธศักราชได้ ๒๒๔๒ พระวรรษา เจ้าแม่ธ _ ทงพระราชศรัทธาเป็นศาสนูปถัมภ์ สร้างระฆังไว้เป็นพุทธบูชาสำหรับพระศาสนาให้รุ่งเรืองถ้วนเถิงห้าพันพระวรรษาขอจงเป็นปัจจัยโพธิญาณในอนาคตกาล

            ข้อความจารึกบนระฆังสำริด
            บรรทัดบน ข้อความจารึกไว้ที่ส่วนกลางขององค์ระฆังว่า “พระสางสมภาร” วิเคราะห์ได้เป็น ๒ แนวทางคือ ทางด้านภาษา คำว่า “พระสางสมภาร” อาจหมายถึง อดีตพระสมภารที่มรณภาพไปแล้ว เพราะคำว่า “สาง” หมายถึง ผี คนสมัยก่อนนิยมเรียกผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วโดยมีคำว่า “สาง” นำหน้าเพื่อบอกสถานะ เช่นคำว่า สางพ่อ สางแม่ ที่หมายถึง ผีพ่อ ผีแม่ ส่วนข้อสันนิษฐานที่ว่า “สาง” อาจเป็นชื่อบุคคล โดยเฉพาะเป็นชื่อของสมภารรูปใดรูปหนึ่งนั้น มีความขัดกันในทางภาษา เพราะคำว่า สมภาร เป็นชื่อตำแหน่ง ในภาษาไทยนิยมวางไว้หน้าชื่อ อาทิคำว่า พระสมภารดี ส่วนทางด้านตำแหน่งที่จารึก คำจารึกนี้ไม่ได้อยู่บรรทัดเดียวกับข้อความอื่นที่จารึกบริเวณขอบปากระฆัง ดังนั้น ทั้งในด้านภาษาและตำแหน่งอาจตีความได้ว่าเป็นจารึกเพื่ออุทิศเป็นกุศลแด่พระอดีตสมภารของวัดก็เป็นได้
            บรรทัดล่าง ข้อความจารึกเรียงกันโดยรอบขอบปากระฆัง แปลเป็นสำนวนภาษาไทยสมัยปัจจุบัน โดยคงตัวสะกดในคำที่ยังไม่แน่ชัดไว้ ได้ว่า “ขอความดีงามจงมี พุทธศักราชได้ ๒๒๔๒ ปี เจาแม่ท่านทรงพระราชศรัทธาเป็นศาสนูปถัมภ์ ส(างระฆังไว้) เป็นพุทธบูชา สำหรับพระศาสนาให้รุ่งเรืองถ้วนถึงห้าพันปี ขอจงเป็นผู้ตรัสรู้โพธิญาณในอนาคตกาล” จากจารึกนี้ทำให้ทราบว่า การสร้างระฆังสำริดใบนี้อยู่ในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) แห่งกรุงศรีอยุธยา ผู้สร้างระฆังสำริดใบนี้เป็นหญิงสูงศักดิ์ เพราะมีการใช้คำราชาศัพท์ว่า “ทรงพระราชศรัทธา” ส่วนความมุ่งหมายของการสร้างระฆังสำริดใบนี้มีอยู่ ๔ ประการคือ เพื่ออุปถัมภ์พระศาสนา เป็นพุทธบูชา ให้พระพุทธศาสนาอยู่ครบ ๕,๐๐๐ ปี และขอเป็นผู้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ นับเป็นจารึกที่ได้ความครบถ้วน

            ระบบการจารึกบนระฆังสำริด
            ระฆังสำริดวัดพระรูปแสดงให้เห็นถึงระบบการจารึกบนระฆังในสมัยอยุธยาตอนปลาย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ประการแรกคือ คติความเชื่อ ที่พบว่าประกอบด้วย เรื่องพระพุทธศาสนามีอายุ ๕,๐๐๐ ปี การตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ ซึ่งสัมพันธ์กับอุดมการณ์เรื่องพระโพธิสัตว์และนิพพาน บุญและการสร้างสมบุญบารมี โดยมีความเชื่อว่าการสร้างระฆังเป็นบุญใหญ่และเป็นวาระสำคัญอย่างหนึ่ง ดังเห็นได้จากจารึกคำขึ้นด้วยคำว่า “สับ ภ่ มัด สะ ดุ” ซึ่งเป็นคำขึ้นต้นที่ใช้ในเอกสารสำคัญเท่านั้น โดยตั้งปรารถนาให้บุญกุศลนี้ช่วยอุปถัมภ์พระศาสนา สืบอายุพระศาสนา เป็นพุทธบูชา เป็นการสร้างสมบุญบารมีเพื่อปรารถนาพุทธภูมิของผู้สร้าง และเป็นบุญอุทิศให้กับผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว ประการที่สองคือ องค์ประกอบสำคัญของจารึก ที่พบว่ามีอย่างน้อย ๓ องค์ประกอบได้แก่ ช่วงเวลา เจ้าของศรัทธาหรือผู้สร้าง และการตั้งความปรารถนาหรือความมุ่งหมาย อาทิ เพื่อสืบพระศาสนา ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ ประการที่สามคือ ตำแหน่งของจารึก ที่พบว่ามีการจารึกบนบริเวณขอบปากระฆังโดยรอบ
            ระบบการจารึกบนระฆังสำริดวัดพระรูปมีลักษณะคล้ายคลึงกับการจารึกบนระฆังที่อยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน อาทิ จารึกบนระฆังวัดเพชร อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จารึกคอระฆังวัดเลียบ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจารึกระฆังในแต่ละใบย่อมจะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไปบ้าง อาทิ จารึกบนระฆังบางแห่งบอกถึงน้ำหนักของวัตถุในการสร้างระฆัง ระฆังบางแห่งวางตำแหน่งจารึกไว้ที่คอระฆัง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการหล่อและการจารึกระฆังแต่ละใบเป็นงานที่ทำขึ้นเฉพาะระฆังใบนั้น ๆ

            ข้อสันนิษฐานที่มาของชื่อ “วัดพระรูป”-“พระสางสมภาร” จากจารึกบนระฆังสำริด
            จารึกศักราชระบุปีที่หล่อระฆังใบนี้คือ พ.ศ. ๒๒๔๒ ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑-๒๒๔๖) แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง สันนิษฐานว่าผู้สร้างระฆังเป็นเจ้านายสตรี เพราะมีปรากฏคำว่า “เจ้าแม่” และ “พระราชศรัทธา” ทั้งนี้คำว่า “เจ้าแม่” ย่อมหมายถึงเจ้านายสตรีระดับ “ผู้ใหญ่” ซึ่งอาจเป็นพระราชมารดาในสมเด็จพระเพทราชา หรืออาจเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระเพทราชา ก็เป็นได้
            เรื่องเจ้านายสตรีผู้สร้างระฆังใบนี้ ยังอาจสัมพันธ์กับที่มาของชื่อวัดพระรูป ซึ่งน่าจะเป็นชื่อเรียกวัดมาแต่ครั้งสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย โดยคำว่า “พระรูป” หมายถึง เจ้านายฝ่ายในที่บวชเป็นชี เมื่อสืบค้นเหตุการณ์ในระยะเวลาใกล้เคียงกับการสร้างระฆัง ได้พบความในพระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติช มิวเซียม ระบุถึงอัครมเหสีในสมเด็จพระเพทราชาผนวชเป็น “พระรูป” ๓ องค์ ภายหลังการสวรรคตของพระสวามี (พ.ศ. ๒๒๔๖) พระรูปองค์แรกคือ “กรมพระเทพามาตย์” พระอัครมเหสีกลาง พระราชมารดาเลี้ยงของสมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชพงศาวดารระบุว่าทูลลาออกไปอยู่ตำหนักวัดดุสิต พระรูปอีก ๒ องค์คือ “กรมหลวงโยธาทิพย์” อัครมเหสีฝ่ายขวา และ “กรมหลวงโยธาเทพ” อัครมเหสีฝ่ายซ้าย เสด็จออกไปประทับที่วัดพุทธไธสวรรย์ พร้อมกับพระโอรสพระนามว่า “ตรัสน้อย” ที่ผนวชเป็นภิกษุตลอดพระชนม์ชีพ
            พระรูปองค์แรก “กรมพระเทพามาตย์” ตามประวัติคือภรรยาเดิมของสมเด็จพระเพทราชาก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงอาจเป็นชาวเมืองสุพรรณบุรีถิ่นฐานเดียวกับสมเด็จพระเพทราชา พระรูปองค์นี้อาจเกี่ยวข้องกับวัดพระรูป เช่น อาจจะเคยเสด็จมาจำพรรษาหรือเป็นผู้อุปถัมภ์วัดด้วย “พระราชศรัทธา” ทั้งก่อนผนวช ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างระฆังถวาย หรือหลังผนวชจนเป็นที่มาของชื่อวัดพระรูป ในขณะที่พระรูป ๒ องค์หลังและพระโอรส เป็นเชื้อพระวงศ์สายสมเด็จพระนารายณ์ ราชวงศ์ปราสาททอง ทำให้ต้องดำรงองค์อย่างระแวดระวังเพื่อหลีก “ราชภัย” พระรูป ๒ องค์หลังนี้จึงยากที่จะเกี่ยวข้องกับที่มาของชื่อ “วัดพระรูป” เมืองสุพรรณบุรี กระนั้นไม่พึงตัดความร่วมสมัยอันเป็นไปได้ที่เจ้านายสตรีพระองค์ใดพระองค์หนึ่งใน ๒ องค์นี้ อาจเป็น “เจ้าแม่” ผู้สร้างระฆังใบนี้ได้ด้วยเช่นกัน
            นอกจากนี้ บริเวณส่วนกลางขององค์ระฆังมีจารึกคำว่า “พระสางสมภาร” ซึ่งอาจหมายถึง อดีตสมภารที่มรณภาพไปแล้ว หรืออาจเกี่ยวข้องกับระฆังใบนี้ทางใดทางหนึ่ง เช่น อาจเป็นผู้สั่งให้ทำจารึกการสร้างระฆังก็เป็นได้ ทั้งนี้ คำว่า “สาง”-“สัง” เป็นคำลาวโบราณหมายถึง ผี-บรรพบุรุษ ดังคำเรียก “สางพ่อ” “สางแม่” “ปู่สังกะสาย่าสังกะสี” เป็นต้น

            หอระฆัง
            แต่เดิมระฆังสำริดวัดพระรูปน่าจะแขวนประจำอยู่ที่หอระฆัง แม้หอระฆังนี้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมมาแล้วในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ แต่ก็ยังปรากฏเค้าโครงของหอระฆังก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุม ส่วนฐานเป็นฐานสิงห์ซ้อนลดหลั่นกัน ตัวอาคารเป็นทรงสูงเจาะช่องขนาดใหญ่ ช่องมีลักษณะโค้งปลายแหลม ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์เป็นต้นมา ส่วนยอดแม้มีการซ่อมแซมอย่างมากแต่ก็ปรากฏร่องรอยว่าเป็นหลังคาซ้อนชั้น จึงสันนิษฐานในเบื้องต้นว่าหอระฆังนี้อาจจะเป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยา กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓ โดยอาจจะสร้างขึ้นพร้อมกับระฆังสำริดที่ปรากฏจารึก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความเจริญรุ่งเรืองของวัดพระรูปในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ บนข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมีเจ้านายสตรีชั้นสูงให้การอุปถัมภ์ทำนุบำรุงวัด อันเป็นที่มาของชื่อ “วัดพระรูป” ในปัจจุบันก็เป็นได้

The Bronze Bell at Wat Phra Rup

Watphrarup Museum

            The bronze bell at Wat Phra Rup was molded during Ayutthaya period (23rd Buddhist Century). It has the shape that has been popular since Ayutthaya period, with the total height of 86 cm; while the bell itself is 46 cm high, with the mouth being 39.5 cm wide. The weight of the bell is about 100 kg. The bell’s handle is bolded as 4-headed Naga which is the symbol indicating the connection between the human world and heaven. The importance of this bell is that it has the inscription specifying B.E. 2242 which is the evidence indicating the development of the monastery that can be traced back to Ayutthaya period during the 23rd Buddhist Century.

            The Inscription Passage
            (The top line)               Phra Sang Somphan
            (The following lines)   In the auspicious occasion of B.E. 2242, Queen Th_ with her intention to be the religious patronage had created this bell to be a worship article for the Lord Buddha in order to foster the religion to be glorious until the 5,000 years of the Buddhist Era in the future.
            In Suphan Buri, aside from the bell at Wat Phra Rup that has the inscription, two other bells have been discovered that have inscription on them showing the year of creation. One of them is at Wat Pa Phruek (specifying that is was created in B.E. 2240), and the other is at Wat Pho Khlan (specifying that it was created in B.E. 2181). Both of these bells have similar shapes to that of the bell at Wat Phra Rup and are contemporary, i.e. in Ayutthaya period during the final period of the 22nd Buddhist Century to the 23rd Buddhist Century.
            The first Phra Rup lady, “Krom Phra Thephamat” historically was the wife of Somdej Phra Phetracha before he became the king. She was probably a native of Suphan Buri, the same residential town as that of Somdej Phra Phetracha. This Phra Rup lady might have something related to Wat Phra Rup, such as she might have come to stay in it during the rainy season or be also the patronage of the monastery with “Phra Ratcha Saddha” (the royal faith) both before ordination including the creation and donation of the bell to the temple, and after ordination that is the background for the name of Wat Phra Rup. On the other hand, the latter two Phra Rup ladies and the prince were of the royal lineage of King Narai of Prasat Thong dynasty. They had to live cautiously in order to avoid the possible “Ratchaphai” (royal execution). So, these latter two Phra Rup ladies were unlikely to be related to the source of the name “Wat Phra Rup” in Suphan Buri province. Even so, we should not ignore the contemporary event of the possibility that one of these two ladies might also be “Chao Mae” who created this bell.
            In addition, in the central area of the bell there is the inscription of the word “Phra Sang Somphan” that may means the previous abbots who had passed away, or “Pathom Somphan” (the first abbot) who might be somewhat related to this bell in one way or the other. As such, the word “Sang” or “Sung” is an ancient Laotian word meaning ghost-ancestor, such as the word “Sang Pho” (ghost of father), “Sang Mae” (ghost of mother), “Pu Sang Ka Sa Ya Sang Kasi” (ghost of grandfather, ghost of grandmother), etc.

            The Assumptions on the Sources of the Name “Wat Phra Rup”, “Phra Sang Somphan” on the Bronze Bell Inscription

            The inscribed creation year of the bell, i.e. B.E. 2242, is a year during the reign of King Phetracha (reigning during B.E. 2231-2246) of Ban Phlu Luang dynasty.  It is assumed that the creator of the bell was a noble lady in the royal court, because there appear the words “Chao Mae (queen or Her Royal Highness)” and “Phra Ratcha Sattha (royal faithful intention)” in the inscription.  As such, the word “Chao Mae” probably means a noble lady at the “senior” level which could be the queen mother of King Phetracha or queens of King Phetracha.

            The case of the noble lady who created this bell may be related to the source of the name of Wat Phra Rup, which might be the called name of monasteries at least since the final period of Ayutthaya, by which the word “Phra Rup” means the ladies in the royal court who were ordained as nuns. When the events during the time near the creation time of the bell were investigated, a passage was found in the Royal History of Siam, British Museum Version, that mentioned that three queens of King Phetracha were ordained as “Phra Rup” after the passing away of the king (B.E. 2246).  The first Phra Rup lady was “Krom Phra Thephamat”, the main (central) queen, who was the step mother of King Phra Chao Suea.  According to the royal history, she asked the royal permission to take leave to reside at Wat Dusit royal residence.  The other two Phra Rup ladies were “Krom Luang Yotha Thip”, the right queen of the king, and “Krom Luang Yotha Thep”, the left queen of the king, both of whom went out to reside at Wat Bhuddhai Sawan together with the son of one of them, a young prince by the name of “Tarat Noi” who remained ordained throughout his life.