สุพรรณบุรีเป็นเมืองเก่าแก่ที่สําคัญแห่งหนึ่งในพื้นที่ลุ่มแม่น้ําท่าจีนเจ้าพระยา มีประวัติความเป็นมายาวนานสืบย้อนกลับไปได้อย่างน้อยตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ และเริ่มมีความสําคัญมากขึ้นในชื่อเมือง “สุพรรณภูมิ” ที่เป็น ส่วนหนึ่งในการสถาปนากรุงศรีอยุธยาบนลุ่มน้ําเจ้าพระยา ความสําคัญของเมือง สุพรรณภูมิคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ร่วมสมัยกับ กรุงศรีอยุธยา อนึ่ง แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านสมัยสุพรรณภูมิมานาน ปัจจุบัน ก็ยังคงปรากฏร่องรอยหลักฐานอารยธรรมสุพรรณภูมิหลงเหลืออยู่ไม่น้อยในวัดสําคัญ ๆ หลายแห่งในเมืองสุพรรณบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน คือ “วัดพระรูป
วัดพระรูป ตั้งอยู่ใน ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี นับเป็น วัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองสุพรรณ ตัววัดตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณสุพรรณ ใน บริเวณวัดมีพื้นที่กว้างขวาง โดยมีด้านทิศตะวันออกติดกับแม่น้ําสุพรรณบุรี ภายใน พื้นที่วัดพระรูปปรากฏโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะที่ มีอายุอยู่ในสมัยสุพรรณภูมิช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ โบราณสถานของวัดพระรูป ที่มีชื่อเสียงอย่างมาก อาทิ เจดีย์ พระพุทธไสยาสน์ รวมถึงโบราณวัตถุชิ้นสําคัญที่ จัดแสดงอยู่ใน “พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป” อาทิ พระพุทธบาทไม้ พระพิมพ์กรุวัดพระรูป พระพุทธรูปหินทราย ใบเสมาหินทราย ระฆังสําริดมีจารึก บุษบกธรรมมาสน์ ฯลฯ หลักฐานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดพระรูปตั้งแต่สมัยสุพรรณภูมิสืบเนื่องมา จนกล่าวได้ว่าวัดพระรูปเป็นตัวแทนของวัดในสมัยอารยธรรมสุพรรณภูมิที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในปัจจุบัน
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดภายในวัดพระรูป ที่จะเป็นหมุดหมายสําคัญ ในการกําหนดอายุการสร้างวัดแห่งนี้ได้ก็คือ “เจดีย์วัดพระรูป” ซึ่งเป็นเจดีย์ ทรงปราสาทยอดขนาดใหญ่ มีเอกลักษณ์อยู่ที่การทําเรือนธาตุ ๒ ชั้น โดยเฉพาะ การทําเรือนธาตุชั้นบนในผังแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นที่นิยมในเมืองสุพรรณ อาทิ เจดีย์
วัดมรกต เจดีย์วัดพระอินทร์ (ร้าง) เจดีย์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี เป็นต้น สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยมีรูปแบบ คล้ายคลึงและมีอายุการสร้างร่วมสมัยกันกับเจดีย์วัดพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าวัดพระรูปน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งอยู่ใน สมัยสุพรรณภูมิ
แรกเริ่มประวัติศาสตร์ “สุพรรณภูมิ”
“สุพรรณภูมิ” เป็นทั้งชื่อแว่นแคว้น รัฐโบราณ และเป็นชื่อเดิมของ เมืองสุพรรณบุรีในยุคก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้ แต่เดิมเคยมีความเข้าใจ คลาดเคลื่อนว่าเมือง “สุพรรณภูมิ” กับ “อู่ทอง” คือเมืองเดียวกัน ข้อเท็จจริงก็คือวัดมรกต เจดีย์วัดพระอินทร์ (ร้าง) เจดีย์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี เป็นต้น สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยมีรูปแบบ คล้ายคลึงและมีอายุการสร้างร่วมสมัยกันกับเจดีย์วัดพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่าวัดพระรูปน่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งอยู่ใน สมัยสุพรรณภูมิ
รัฐโบราณในดินแดนประเทศไทยและ
ใกล้เคียงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. ๑๘๙๓ รัฐสุพรรณภูมิ (หมายเลข ๙)
ครองความเป็นใหญ่ในซีกตะวันตก
ของดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้ำสุพรรณบุรี
(ท่าจีน) ในปัจจุบัน
ที่มาภาพ: สุจิตต์ วงษ์เทศ, กรุงสุโขทัยมาจากไหน?(กรุงเทพมหานคร : มติชน.๒๕๔๘). ๑๕๑.
เจ้าพระยา ขณะที่สุพรรณภูมิครองความเป็นใหญ่อยู่ทางตะวันตกของลุ่มแม่น้ํา เจ้าพระยา ครอบคลุมบริเวณลุ่มแม่น้ําสุพรรณบุรี (แม่น้ําท่าจีน) อํานาจสุพรรณภูมิเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างพุทธศาสนาแบบ ทวารวดี ทั้งลัทธิมหายานและหินยานแบบเถรวาทและลัทธิฮินดู ในช่วง พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๙” ที่สําคัญคือการเข้ามาผสมกลมกลืนของกลุ่มคนไทยที่ เคลื่อนย้ายเข้ามาจากดินแดนทางตอนบนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เมื่อประกอบ กับอิทธิพลขอมที่เรืองอํานาจในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สิ่งนี้ส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมตลอดจนภาษาของรัฐสุพรรณภูมิที่เป็นการผสมผสานระหว่าง อารยธรรมแบบขอม-มอญ และไทย และพูดภาษาไทย ต่างกับทางละโว้-อโยธยา ที่ใกล้ชิดอารยธรรมขอมมากกว่า และพูดภาษาเขมร”
“สุพรรณภูมิ” ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๒๖)
นาม “สุพรรณภูมิ” ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ (จารึก พ่อขุนรามคําแหง พ.ศ. ๑๘๒๖) ด้านที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๗-๒๒ ที่กล่าวถึงอาณาเขต ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคําแหง ความว่า “… มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจายสดา เท้าฝั่งของเถิงเวียงจันทน์ เวียงคําเป็นที่แล้ว เบื้องหัวนอน รอดคนที่ พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว…” แสดงให้เห็นว่า สุพรรณภูมิ เป็นเมืองมาแล้วอย่างน้อยในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ร่วมสมัยกับเมืองสุโขทัยและ ก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา
ภูมิกายภาพของเมืองสุพรรณภูมิ-ความสัมพันธ์ระบบ “เมืองคู่
ภูมิกายภาพของผังเมืองสุพรรณภูมิมีสัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายกับผังเมืองที่ร่วมสมัยเดียวกัน เช่น แพรกศรีราชา เพชรบุรีราชบุรี ซึ่งเป็น เมือง/แว่นแคว้นทางซีกตะวันตกของลุ่มน้ําเจ้าพระยา สัณฐานเมืองรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้านี้ยังคล้ายคลึงกับอโยธยาศรีรามเทพนคร เมืองสําคัญของแว่นแคว้นทาง ซีกตะวันออก ตัวเมืองสุพรรณภูมิมีขนาด ๓,๖๐๐ x ๑,๙๐๐ เมตร ด้วยข้อสันนิษฐานถึงการมีคูน้ํากําแพงเมืองล้อมรอบครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ําสุพรรณบุรี เมืองนี้ จึงเป็น “เมืองอกแตก” ที่มีแม่น้ําผ่ากลางไหลผ่านจากเหนือลงใต้ ที่ตั้งของ พระราชวังและวัดสําคัญต่าง ๆ เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุรวมถึงวัดพระรูป ล้วนอยู่ทางฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ดอนมากกว่า ทั้งนี้ ร่องรอยของกําแพงเมืองคูน้ํา ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ําสุพรรณบุรีที่หลงเหลืออยู่อย่างชัดเจนมีลักษณะโอบล้อม คล้ายรั้วขนาดใหญ่ เป็นที่มาของคําว่า “รั้วใหญ่” ในคําเรียกของชาวบ้าน และ ต่อมากลายเป็นชื่อ ต.รั้วใหญ่ ใน อ.เมืองสุพรรณบุรี
ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ระบบการเมืองของสุพรรณภูมิแรกเริ่มคือ รูปแบบความสัมพันธ์ระบบ “เมืองคู่” ที่ใกล้ชิดกับ แพรกศรีราชา หรือ เมืองสรรคบุรี (ปัจจุบันคือ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท) ซึ่งมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคปลายทวารวดีและ เติบโตจากการขยายตัวของสุพรรณภูมิมาตามแม่น้ําสุพรรณบุรี และแม่น้ําน้อย ขึ้นไปทางเหนือ ทั้งนี้ ระบบ “เมืองคู่” ภายใต้ความสัมพันธ์ของผู้นํากลุ่มเดียวกัน เป็นทั้งวิธีขยายเครือข่ายอํานาจและการรวมทรัพยากรของเมืองทั้งสองตลอดจน เมืองบริวาร สิ่งนี้ยังเป็นฐานที่ทําให้สุพรรณภูมิมีพัฒนาการไปสู่ความเป็น “อาณาจักร” ในเวลาต่อมา
ภาพถ่ายทางอากาศ แสดงที่ตั้งและผังเมือง สุพรรณภูมิ ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในรูป จะเห็นแนวคูน้ําคันดินชัดเจนทางฝั่งตะวันตก ของแม่น้ําสุพรรณบุรี รวมถึงร่องรอยแนวคูน่า ลาง ๆ ทางฝั่งตะวันออก อันเป็นที่มาของ ข้อถกเถียงว่า สุพรรณภูมิ เป็นเมือง “อกแตก”หรือไม่
ที่มาภาพ: วารสารเมืองโบราณ, ปีที่ 8 ฉบับที่ ๒ (เมษายน-กรกฎาคม ๒๕๒๖), ๕.
เจดีย์วัดพระรูป: หลักฐานการสร้างวัดในสมัยสุพรรณภูมิ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙
ภายในวัดพระรูปพบหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็น หมุดหมายในการกําหนดอายุการสร้างวัดแห่งนี้คือ “เจดีย์ วัดพระรูป” การก่อสร้างฐานรากเจดีย์วัดพระรูปมีวิธีการที่ เรียบง่ายฐานรากเป็นดินเหนียวอัดแน่นซึ่งเป็นชั้นดินธรรมชาติ จากนั้นถมทรายปรับพื้นที่แล้วจึงสร้างฐานเจดีย์ การสร้างเจดีย์ ใช้วิธีการก่ออิฐ ใช้ดินสอและจึงฉาบปูนทับ การเรียงอิฐ ใช้วิธีวางอิฐแนวยาวสลับแนวขวาง มีโครงสร้างภายใน เป็นโพรง ไม่ทึบตัน มีการถากอิฐเป็นแนวเฉียงเพื่อปั้นปูน เป็นบัว และมีการถากอิฐเป็นสันแหลมเพื่อปั้นปูน เป็นลูกแก้วอกไก่
เจดีย์วัดพระรูปในปัจจุบัน หลังได้รับการบูรณะ เจดีย์องค์นี้นับเป็นหลักฐานสําคัญในการสันนิษฐาน กําหนดอายุวัดพระรูปว่าสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งอยู่ในสมัยสุพรรณภูมิ
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์วัดพระรูป
ส่วนฐาน ประกอบด้วย ฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสทรงสูง ต่อด้วย ฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองซ้อนลดหลั่นกัน ๒ ชั้น ต่อด้วยฐานเขียง ในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบ ต่อขึ้นด้วยฐานบัวลูกแก้วในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมสิบสอง ที่ยึดท้องไม้สูงและประดับลูกแก้วอกไก่ ๒ เส้น ด้านทิศตะวันออกก่อเป็นมุขยื่น ออกมาจากฐานเขียงและฐานบัวลูกแก้ว มุขนี้มีบันไดขึ้นลงไปสู่ลานด้านหน้า สันนิษฐานว่าในมุขประดิษฐานพระพุทธรูป เป็นที่น่าสังเกตด้วยว่า การทําฐานบัว ลูกแก้วในผังสี่เหลี่ยมย่อมุม ที่ยึดท้องไม้สูงและประดับลูกแก้วอกไก่ ๒ เส้น พบเป็นที่นิยมอยู่ในศิลปะล้านนา
ส่วนกลาง เป็นเรือนธาตุซ้อน ๒ ชั้น ทําให้เจดีย์มีรูปทรงสูงเพรียว และเป็นรูปแบบพิเศษของกลุ่มเจดีย์ทรงปราสาทยอด เรือนธาตุชั้นล่างอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านยกเก็จแล้วทําซุ้มจรนําเพื่อประดับพระพุทธรูปประทับยืนลักษณะซุ้มพระมีแนวอิฐเป็นวงโค้ง รอบเรือนธาตุประดับลูกแก้วอกไก่ส่วนบน ๒ เส้นและส่วนล่าง ๒ เส้น และมีการประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ส่วนที่ชํารุด สูญหายไปสันนิษฐานว่ามีการประดับเสาติดผนังที่มุม ส่วนบนของเรือนธาตุทําเป็น หลังคาลาด และมีซุ้มเหนือช่องจรนํา
เรือนธาตุชั้นบนอยู่ในผังแปดเหลี่ยม แต่ละด้านทําซุ้มจรนําเพื่อประดับ พระพุทธรูปประทับยืน รอบเรือนธาตุประดับลูกแก้วอกไก่ส่วนบน ๒ เส้นและส่วนล่าง ๒ เส้น และมีการประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ลักษณะองค์พระเป็นโกลนอิฐพอกปูนส่วนที่ชํารุดสูญหายไปสันนิษฐานว่าส่วนบนของเรือนธาตุทําเป็นหลังคาลาด มี ซุ้มเหนือช่องจรนํา นักวิชาการวิเคราะห์ว่า การทําซุ้มจรนําประดับพระพุทธรูป ทั้งแปดด้าน คล้ายกับรัตนเจดีย์ในศิลปะสมัยหริภุญชัยที่วัดจามเทวี จ.ลําพูน
ส่วนยอด อยู่เหนือเรือนธาตุ ประกอบด้วย ส่วนรองรับองค์ระฆังที่เป็น ชุดบัวคว่ําบัวหงายอยู่ในผังแปดเหลี่ยมจํานวน ๒ ชั้นซ้อนลดหลั่นกันมีลูกแก้วอกไก่ ประดับท้องไม้ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวปากระฆังอยู่ในผังกลม ต่อขึ้นด้วยองค์ระฆังขนาด ค่อนข้างเล็กอยู่ในผังกลมทรงยึดสูงเพรียว การก่อองค์ระฆังใช้อิฐรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บัลลังก์อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ต่อด้วยก้านฉัตร บัวฝาละมีปล้องไฉนเหนือขึ้นไปจาก นี้ชํารุดสูญหาย มีร่องรอยการประดับลวดลายปูนปั้นบนส่วนยอด
เจดีย์วัดพระรูป: รูปแบบศิลปะเป็นแบบเจดีย์ทรงปราสาทยอด
เจดีย์วัดพระรูปมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมจัดอยู่ในกลุ่ม “เจดีย์ ทรงปราสาท” อันหมายถึง เจดีย์ที่มีเรือนหลายชั้นซ้อนกัน หรือที่มีหลังคาลาดหลาย ชั้นซ้อนลดหลั่นกันซึ่งมีแบบที่แตกต่างกันออกไปอีกหลายแบบ ส่วนสําคัญของเจดีย์ ทรงนี้คือการทําเรือนธาตุเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป โดยจะประดิษฐานไว้ในห้อง คูหาที่ลึกเข้าไปในเรือนธาตุ หรือจะไว้ในซุ้มจรนําที่ผนังเรือนธาตุก็ได้
ทั้งนี้ เหนือเรือนธาตุขึ้นไปมักจะเป็นชั้นซ้อนของหลังคา และต่อยอดเป็น กรวยที่มีองค์ระฆังเป็นส่วนประกอบสําคัญ แต่โดยทั่วไปปราสาทจะหมายถึง เรือนชั้นซ้อนโดยไม่จําเป็นต้องมียอดแหลม ดังนั้นการที่เจดีย์ทรงปราสาทมีการ ต่อยอดกรวยขึ้นไปอีกส่วนหนึ่ง จึงนิยมเรียกเจดีย์ทรงนี้อีกชื่อด้วยว่า “เจดีย์ทรงปราสาทยอด”
ส่วนยอด ส่วนรองรับองค์ระฆังที่เป็นชุดบัวคว่ําบัวหงายอยู่ใน ผังแปดเหลี่ยมจํานวน ๒ ชั้นซ้อนลดหลั่นกัน มีลูกแก้วอกไก่ ประดับท้องไม้ ถัดขึ้นไปเป็นชั้นบัวปากระฆังอยู่ในผังกลม ต่อด้วยองค์ระฆังขนาดค่อนข้างเล็กอยู่ในผังกลมทรงยึดสูงเพรียว เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์อยู่ในผังแปดเหลี่ยม ก้านฉัตร บัวฝาละมี ปล้องไฉน เหนือขึ้นไปจากนี้ชํารุดสูญหาย
ส่วนกลาง เป็นเรือนธาตุซ้อน ๒ ชั้น เรือนธาตุ ชั้นล่าง อยู่ใน ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านยกเก็จแล้วทําซุ้มจรนํา เพื่อประดับ พระพุทธรูปประทับยืน รอบเรือนธาตุประดับลูกแก้วอกไก่ส่วนบน ๒ เส้นและส่วนล่าง ๒ เส้น และมีการประดับด้วยลวดลายปูนปั้น เรือนธาตุชั้นบน อยู่ในผังแปดเหลี่ยม แต่ละด้านทําซุ้มจรนําเพื่อ ประดับ พระพุทธรูปประทับยืน รอบเรือนธาตุประดับลูกแก้วอกไก่ ส่วนบน ๒ เส้น และส่วนล่าง ๒ เส้น และมีการประดับด้วย ลวดลายปูนปั้น
ส่วนฐาน เริ่มจากฐานเขียงชั้นล่างในผัง สี่เหลี่ยมจัตุรัสทรงสูง เหนือขึ้นมาเป็นฐานเขียงใน ผังสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสองซ้อนลดหลั่นกัน ๒ ชั้น ฐานเขียง ในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมยี่สิบ ต่อด้วยฐานบัวลูกแก้วในผังสี่เหลี่ยม เพิ่มมุมสิบสอง ที่ยึดท้องไม้สูง และประดับลูกแก้วอกไก่ ๒ เส้น ต้านทิศตะวันออกก่อเป็นมุขยื่นออกมาจากฐานเขียง
เจดีย์วัดพระรูป: พุทธสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ของเมืองสุพรรณ ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙
กรมศิลปากรได้ดําาเนินการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูปใน พ.ศ. ๒๕๓๔ และได้บูรณะเจดีย์วัดพระรูปใน พ.ศ. ๒๕๓๗ พบฐานเจดีย์ครั้งแรกสร้างและ หลักฐานต่าง ๆ จํานวนหนึ่ง จากลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ สันนิษฐาน ว่าเจดีย์วัดพระรูปคงจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยมีรูปแบบคลี่คลาย มาจากเจดีย์วัดพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานทางด้าน โบราณวัตถุที่พบ
การศึกษาที่ผ่านมามีนักวิชาการ ให้ความสนใจเจดีย์วัดพระรูปไม่น้อย ในอดีต น. ณ ปากน้ํา สันนิษฐานว่าน่าจะ สร้างในสมัยสุพรรณภูมิเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อมา ศ.ดร. สันติ เล็กสุขุมวิเคราะห์ลวดลายปูนปั้นประดับที่ยัง หลงเหลืออยู่ เชื่อว่าเจดีย์วัดพระรูปเป็นงาน ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หรือต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่สืบ เนื่องจากเจดีย์วัดพระแก้ว เมืองสรรคบุรีโดยมีขนาดเล็กกว่าและย่นย่อองค์ประกอบต่าง ๆ ลง ๆ
ศ.ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห์ วิเคราะห์รูปแบบเจดีย์ทรงปราสาทยอด วัดพระรูปว่า ที่มุมทั้งสี่เหนือเรือนธาตุน่าจะประดับเจดีย์จําลอง (สถูปิกะ) ทําให้เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ๕ ยอด น่าจะมีที่มาจากเจดีย์ทรงปราสาท ๕ ยอดในศิลปะล้านนา โดยมีรูปแบบคล้ายกับเจดีย์วัดพระแก้ว อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เจดีย์ลักษณะนี้นับเป็น รูปแบบใหม่ที่รับรูปแบบมาจากศิลปะล้านนา โดยผสมระหว่างเจดีย์ทรงปราสาทห้ายอดที่มีเรือนธาตุสี่เหลี่ยมและประดับเจดีย์จําลองที่พบในสมัยล้านนาตอนต้น(ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙) กับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในผังแปดเหลี่ยมที่มีมาแล้ว
ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย (ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และปรากฏในศิลปะล้านนาระยะแรก ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐) ทั้งนี้ส่วนยอดที่เป็นเจดีย์ ทรงระฆังมีชุดบัวคว่ําบัวหงาย ๓ ชั้นรองรับองค์ระฆัง ยังเป็นรูปแบบที่พบในศิลปะ ล้านนาเช่นกัน ประกอบกับยังมีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยปรากฏร่วมด้วย ได้แก่ กรอบ ซุ้มหน้านาง และพระพุทธรูปที่เป็นแบบอู่ทองรุ่น ๓ ที่มีอิทธิพลศิลปะสุโขทัยแล้ว เจดีย์รูปแบบใหม่นี้นิยมในบริเวณเมืองสรรคบุรีลงมาสุพรรณบุรี เจดีย์รูปแบบนี้ น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
อย่างไรก็ดี จารึก วิไลแก้ว นักโบราณคดี วิเคราะห์ว่า พัฒนาการของกลุ่ม เจดีย์แปดเหลี่ยมเมืองสุพรรณบุรี มีรากเหง้ามาจากกลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยมและ สี่เหลี่ยมของเมืองอู่ทอง ที่เป็นเจดีย์สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖) โดย หลังจากเมืองอู่ทองล่มสลาย กลุ่มชนเมืองอู่ทองมิได้สูญหายไปไหน แต่ได้ เคลื่อนย้ายไปรวมกลุ่มในลุ่มน้ําสําคัญ ได้แก่ ลุ่มน้ําสุพรรณบุรี บ้านหนองแจง เนินทางพระ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ วัฒนธรรมเขมรได้เข้ามามีอิทธิพล ในบริเวณนี้ จึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมอยู่ช่วงหนึ่ง ได้พบหลักฐานศิลปะ ลพบุรี (เขมรในประเทศไทย) อย่างกว้างขวางในบริเวณดังกล่าว และเป็นรากเหง้า ของอิทธิพลศิลปะลพบุรีที่คงเหลือต่อมาในสมัยหลัง ร่วมสมัยเดียวกับกลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยมในเมืองสุพรรณ สําหรับเจดีย์วัดพระรูปจัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์ที่มีฐานล่าง เป็นสี่เหลี่ยม ส่วนด้านบนเป็นแปดเหลี่ยม อาทิ เจดีย์วัดแจ้ง เจดีย์วัดมรกต คงจะมี พัฒนาการขึ้นจากกลุ่มโบราณสถานแปดเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมในสมัยทวารวดี ตอนปลาย องค์ประกอบสําคัญของโครงสร้างแบบเจดีย์วัดพระรูป มักพบในกลุ่ม โบราณสถานเมืองอู่ทอง โดยเกิดการพัฒนาแนวคิดในการสร้างเจดีย์ โดยการ ผสมผสานโครงสร้างเจดีย์แบบสี่เหลี่ยมและแปดเหลี่ยมเข้าด้วยกัน และขยาย โครงสร้างในส่วนแปดเหลี่ยมสูงขึ้นไป รวมทั้งองค์ระฆังบัลลังก์และปล้องไฉน มีอายุ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ร่วมสมัยกับกลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยมตั้งแต่ชั้น ล่างสุด อาทิ เจดีย์ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เจดีย์วัดพระอินทร์ เจดีย์วัดไก่เตี้ย กลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยมในสุพรรณได้กระจายขึ้นไปทางเขตภาคกลาง เช่น วัดพระแก้ว วัดมหาธาตุ อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท สําหรับเจดีย์วัดพระแก้วเมืองสรรคบุรีนั้น มีรูปแบบคล้ายเจดีย์วัดพระรูปโดยมีอายุหลังกว่าวัดพระรูป แต่ยังคงรักษาโครงสร้าง
โบราณวัตถุประเภทเศษภาชนะดินเผาในสมัยสุพรรณภูมิที่พบจากการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป
ในการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูปของกรมศิลปากร * ยังได้พบโบราณวัตถุ ประเภทเศษภาชนะดินเผาจํานวนหนึ่ง แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ประเภทเศษ ภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) พบมากที่สุด เนื้อค่อนข้างหยาบมีทรายปน เผาอุณหภูมิค่อนข้างต่ําสุกไม่ตลอด ส่วนใหญ่ผิวสีแดงส้ม มีทั้งแบบผิวเรียบ และผิวมีลวดลายตกแต่ง อาทิ ชิ้นส่วนภาชนะหม้อก้นกลมผิวเรียบ
ประเภทเศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง (Stoneware) พบน้อยกว่าชนิด เนื้อดิน ในชั้นดินตอนล่างที่เป็นชั้นดินร่วมสมัยกับการสร้างเจดีย์ครั้งแรก ส่วนใหญ่ เนื้อค่อนข้างหนา เนื้อดินหยาบมีทรายปน ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตกแต่งผิวด้วย ลวดลายกากบาทแล้วเขียนสีแดงทับ ลายรูปกลีบบัว ลายคล้ายเม็ดข้าว ฯลฯ เผาสุกทั่วกัน ผิวมีสีเทา อาทิ เศษภาชนะประเภทไหหรือหม้อปากกว้างก้นกลม โดยพบว่ามีที่มาจากแหล่งเตาเผาบ้านบางปูน ต. พิหารแดง อ. เมืองสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดพระรูป มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๓
ประเภทเศษภาชนะดินเผาเคลือบ พบน้อยมากเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาเคลือบจากแหล่งเตาในประเทศ บางชิ้นเป็นเนื้อดินไม่ค่อย ละเอียด ด้านในมีรอยของจานหรือกึ่งบน้ําอ้อย เคลือบทั้งด้านในและด้านนอก ด้วยน้ําเคลือบสีเขียวไข่กา (เซลาดอน) บางชิ้นมีเนื้อหยาบ ตกแต่งด้วยการปั้นแปะ เป็นรูปดอกไม้ 5 กลีบ เคลือบสีเขียวขุ่น บางชิ้นเขียนสีด้วยสีดําลายเส้นขูดขีด เศษภาชนะดินเผาเหล่านี้คล้ายกับภาชนะที่พบในกลุ่มเตาที่ อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๒๒ นอกจากนี้ ยังได้พบกระปุก เคลือบสีเขียวเซลาดอน ในชั้นดินปนทรายอันเป็นชั้นพื้นของเจดีย์ มีผิวแตกราน ด้านในและกันไม่เคลือบ เนื้อดินสีออกแดง ภายในบรรจุเศษกระดูกเผาไฟ สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาเผาใน อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย มีอายุอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑
หลักฐานภาชนะดินเผาเหล่านี้ สนับสนุนข้อสันนิษฐานที่ว่าเจดีย์วัดพระรูปสร้างขึ้นครั้งแรกในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ และมีการบูรณะหลายครั้งสืบเนื่องเรื่อยมา สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของวัดและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้คนในบริเวณวัดแห่งนี้
กระปุกเคลือบสีเขียวเซลาดอน พบในชั้นติน ปนทรายอันเป็นชั้นพื้นของเจดีย์วัดพระรูป สันนิษฐานว่าผลิตจากแหล่งเตาเผาใน อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มีอายุอยู่ในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๑
ที่มาภาพ: กรมศิลปากร, รายงานการขูดแต่ง เจดีย์วัดพระรูป อ. เมือง จ. สุพรรณบุรี (เอกสาร อ้ตสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔).
พระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยสุพรรณภูมิที่พบในวัดพระรูป
พระพุทธรูปองค์นี้ นายวชิรพงศ์ วงษ์เพ็ง (มหาทม) มอบให้วัดพระรูป ตามคําบอกเล่ากล่าวว่า พบบริเวณวิหารมุมของวัดพระรูป พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างจากวัสดุสําริดกะไหล่ทอง ขนาดสูงรวมฐาน ๙๑.๑ ซม. แสดง ปางมารวิชัย พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระเกตุมาลาเป็นทรงกรวย ครองจีวรห่มเฉียง ปลายจีวรเป็นลายกระหนกรูปคล้ายเขี้ยว ตะขาบ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ บนฐานรูปทรงบัวคว่ําบัวหงาย ที่มีลักษณะเว้าโค้งตามการประทับนั่ง ที่ฐานบัวสลักเป็นลาย เส้นกระหนกรูปกลีบบัว จัดเป็นศิลปะแบบสุพรรณภูมิ (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐) หรือที่นิยมเรียกกันว่าพระพุทธรูป แบบอู่ทองรุ่นหนึ่ง
พระพุทธรูปปางมารวิชัย (พบบริเวณวิหารมุมวัดพระรูป) พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ แบบศิลปะสุพรรณภูมิ วัสดุสําริ กะไหล่ทอง ขนาดสูงรวมฐาน ๔๑.๑ ซ.ม. นายวชิรพงศ์ วงษ์เส็ง มอบให้วัดพระรูป
ฐานเจดีย์เก่าหลังอุโบสถ
ฐานเจดีย์เก่าองค์หนึ่งในวัดพระรูป ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถในแนวแกน ตะวันออก-ตะวันตก ในปัจจุบันมีสภาพชํารุดเหลือเพียงส่วนฐาน โดยส่วนยอดและ เรือนธาตุหักพังลงมาทับถมส่วนฐานจนไม่สามารถพิจารณารูปแบบได้อย่างไรก็ดีในอดีตเจดีย์องค์นี้คงมีความสําคัญ เนื่องจากตั้งอยู่ในตําแหน่งตรงกับอุโบสถในแนว แกนตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นแนวแกนสําคัญของการสร้างพุทธศาสนสถานตาม จารีตโบราณ ประกอบกับลักษณะและขนาดของอิฐที่ใช้สร้างเจดีย์มีหลายขนาดอิฐที่มีขนาดใหญ่มีเนื้อคล้ายกับอิฐสมัยทวารวดี อิฐในส่วนของฐานบัวมีร่องรอย การถากเกลาให้เป็นรูปทรง อิฐในส่วนหน้ากระดานบางแห่งมีการถากเกลาให้เว้าเป็นร่อง รวมถึงยังมีการใช้ศิลาแลงประกอบด้วย
ร่องรอยการใช้อิฐขนาดเล็กผสมผสานกับอิฐขนาดใหญ่สมัยทวารวดีและ ศิลาแลงยังปรากฏอยู่ในการก่อเจดีย์แปดเหลี่ยม (ทิศใต้) ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (สุพรรณบุรี) เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูน จากหลักฐานการขุดแต่งเจดีย์องค์นี้พบว่าก่อนการสร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมมีร่องรอยของซากโบราณสถานและโบราณวัตถุ สมัยทวารวดีอยู่แล้วในบริเวณนี้ ซึ่งอาจมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘
นอกจากนี้ ฐานเจดีย์หลังอุโบสถยังสังเกตเห็นร่องรอยของแนวอิฐที่ น่าจะยื่นออกมาเป็นมุขทางด้านทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเจดีย์องค์นี้คงจะมี มุขยื่นเป็นบันไดทางด้านทิศตะวันออก และคงจะมีความสัมพันธ์กับอุโบสถไม่มาก ก็น้อยโดยอาจสร้างขึ้นในคราวเดียวกัน นับเป็นหลักฐานสําคัญของวัดพระรูปที่ควรได้รับการศึกษาค้นคว้าต่อไป
สุพรรณภูมิ-เจินหลี่ เสียน และความสัมพันธ์กับจีน
นับแต่โบราณที่เอกสารจีนได้ระบุถึงเรื่องราวของแคว้น “เงินหลี่ฟู รัฐโบราณในท้องถิ่นคาบสมุทรทะเลใต้ที่นับตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้มีการ ติดต่อค้าขายกับจีนโดยตรง ข้อสรุปของนักวิชาการลงความเห็นว่า “เงินหลี่ฟู น่าจะหมายถึง “สุพรรณภูมิ” เนื่องจากเอกสารจีนระบุว่าเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทาง ตะวันตกของลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาที่มีแม่น้ําไหลออกสู่ทะเลได้ และอยู่ระหว่างลังกา กับกัมพูชาผ่านทางตอนใต้พม่า ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บันทึกสมัยราชวงศ์ หยวนระบุถึง “เสียน” ที่ส่งทูตมาเจริญสัมพันธ์กับจีน โดยที่ “เสียน” น่าจะหมายถึง “สุพรรณภูมิ” ด้วยเช่นกัน ในเอกสาร “บันทึกขนบธรรมเนียมประเพณีเงินละ” ของ“โจวต้ากวาน” นักการทูตจีนที่เดินทางเข้าไปยังเมืองพระนครในสมัยพระเจ้า อินทรวรวันที่ ๓ ระบุว่า เสียน (เสียนหลอ) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเงินละ (กัมพูชา) ใช้เวลาเดินทางครึ่งเดือน” เป็นไปได้ว่า “เสี่ยน” คือเครือข่ายกลุ่มรัฐของ กลุ่มคนที่พูดภาษาไทยในซีกตะวันตกของลุ่มน้ําเจ้าพระยาที่มีความสัมพันธ์ทาง เครือญาติและการเมืองอันได้แก่ สุโขทัย สุพรรณภูมิ แพรกศรีราชา ราชบุรี เพชรบุรี ไปจนถึงนครศรีธรรมราช ขณะที่ “สุพรรณภูมิ” ถือเป็นรัฐใหญ่ของเครือข่ายแว่น แคว้นซีกตะวันตกและมีบทบาทสําคัญในฐานะผู้ควบคุมจุดเชื่อมต่อเส้นทางการค้า ข้ามคาบสมุทรระหว่างดินแดนทะเลจีนใต้กับอินเดียและอาหรับ ด้วยเหตุนี้ จีนจึง ให้ความสําคัญกับผู้ปกครองที่สุพรรณภูมิเป็นพิเศษ
ขอบเขตของรัฐสุพรรณภูมิครอบคลุมซีกตะวันตกของคาบสมุทรทําให้ ดินแดนนี้เป็นจุดเชื่อมต่อการค้าระหว่างดินแดนทะเลใต้กับอินเดียและอาหรับ
ที่มาภาพ: สุจิตต์ วงษ์เทศ, กรุงสุโขทัยมาจากไหน ? (กรุงเทพมหานคร : มติชน, ๒๕๔๘), ๕๓.
อ้างอิง
วารุณี โอสถารมย์, พัฒนาการจากเมืองอู่ทองโบราณถึงรัฐสุพรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๕ กรณี ศึกษาประวัติศาสตร์รัฐอิสระในลุ่มน้ําภาคกลางตอนล่าง” ใน ๓๐ ปี ไทยคดีศึกษา (กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔), ๒๔๖.๒๕๕๗)
ดูรายละเอียดใน สุจิตต์ วงษ์เทศ, สุพรรณบุรีมาจากไหน (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร,
กรมศิลปากร, ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคําแหง (กรุงเทพมหานคร: สํานักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๔๗), ๓๔.
อย่างไรก็ตามความเห็นทางวิชาการที่ว่า เมืองสุพรรณภูมิเป็น “เมืองอกแตก” หรือไม่นั้น มีความเห็น ไปในทาง ๒ กระแส กระแสหนึ่งเห็นไปในทางว่าเป็น “เมืองอกแตก” ที่สําคัญคือ ทัศนะของ ศรีศักร วัลลิโภดม (๒๕๒๖) ซึ่งศึกษาจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศพบว่าบริเวณที่เป็นเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่ง ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ําสุพรรณบุรีนั้น มีเมืองโบราณสร้างทับกันอยู่บริเวณเมืองเก่าครอบคลุมทั้งสองฝั่งของ แม่น้ําสุพรรณบุรี เพราะมีแนวคูน้ําคันดินทางฝั่งทิศตะวันออกปรากฏอยู่ ทั้งนี้ งานศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณในเวลาต่อมา อาทิ รัตนา หนูน้อย (๒๕๒๕) วารุณี โอสถารมย์ (๒๕๔๖) ล้วนเห็นไปในทางเดียวกันว่าผังเมืองสุพรรณภูมิเป็น “เมืองอกแตก” ในขณะที่อีกกระแส เช่น ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ (๒๕๕๓) เห็นว่าเมืองสุพรรณภูมิไม่ใช่ “เมืองอกแตก” แต่ใช้แม่น้ําสุพรรณบุรีเป็นเมืองทาง ทิศตะวันออก คันคู าเติมที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศนั้นอยู่ห่างไกลกระจายหัวบานออกไปซึ่งทําให้ ผังเมืองดูไม่ได้สัดส่วน แท้จริงแล้วแนวคู ด้านฝั่งตะวันออกถูกขุดขึ้นภายหลังเพื่อประโยชน์ทางการ เกษตรกรรมมากกว่า.
วีระดา ทองมิตร, “สุพรรณภูมิ … แว่นแคว้นโบราณแห่งลุ่มแม่น้ําสุพรรณบุรี” ใน เมืองโบราณ ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม, ๒๕๕๙), ๑๕.
รูปแบบความสัมพันธ์ระบบเมืองคู่ปรากฏบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาหลายแห่ง เช่น ในซีกตะวันออก ทางแคว้นละโว้-อโยธยา ปรากฏเมืองคู่คือเมืองลพบุรีและอโยธยา ขณะที่บ้านเมืองที่อยู่ถัดขึ้นไปตอนบน เช่น แคว้นสุโขทัยมีเมืองคู่คือเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย เป็นต้น ดูรายละเอียดประเด็นนี้ใน ธิดา สาระยา, “สร้างบ้านแปงเมืองระบบเมืองคู่สถาบันเมืองลูกหลวง” ในเมืองโบราณ ฉบับสุพรรณภูมิ ปีที่ 8 ฉบับที่ ๒ (เมษายน-กรกฎาคม, ๒๕๒๖), ๑๓-๒๗.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔),
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, เจดีย์ในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ. ๒๕๖๐), ๔๘๗.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔), ๒๘.
น. ณ ปากน้ํา, “ศิลปะแห่งอาณาจักรสุพรรณภูมิ, เมืองโบราณ ปีที่ ๙, ฉบับที่ ๒ (เมษายน-กรกฎาคม,๒๕๒๖), ๓๐-๓๑.
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน, (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๐), ๒๘. และดูใน สันติ เล็กสุขุม, “เจดีย์วัดพระรูป อําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี หลักฐานใหม่ที่ ค้นพบ,” ใน รวมบทความ มุมมอง ความคิดและความหมาย: งานช่างไทยโบราณ (กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๔), ๕๘-๗๐.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, เจดีย์ในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๖๐), ๔๘๗-๔๘๙
จารึก วิไลแก้ว, “กลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยม: เมืองสุพรรณบุรี,” ใน รวมบทความทางวิชาการ ๓๒ พรรษา ท่านศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จํากัด, ๒๕๓๔), ๒๒๗-๒๕๘.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔), และ กรมศิลปากร, รายงานการบูรณะเจดีย์วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๗)
จารึก วิไลแก้ว, “กลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยม: เมืองสุพรรณบุรี,” ใน รวมบทความทางวิชาการ ๗๒ พรรษา ท่านศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จํากัด, ๒๕๓๔), ๒๒๗-๒๕๘.
วารุณี โอสถารมย์, “พัฒนาการจากเมืองอู่ทองโบราณถึงรัฐสุพรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๕ กรณีศึกษาประวัติศาสตร์รัฐอิสระในลุ่มน้ําภาคกลางตอนล่าง” ใน ๓๐ ปี ไทยคดีศึกษา (กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ๑๔๘.
เฉลิม ยงบุญเกิด, บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ (กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๕๓), พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๔. ทั้งนี้ แต่เดิมยังเชื่อกันว่า “เสียน” คือ สุโขทัย
วารุณี โอสถารมย์, พัฒนาการจากเมืองอู่ทองโบราณถึงรัฐสุพรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๕ กรณี ศึกษาประวัติศาสตร์รัฐอิสระในลุ่มน้ําภาคกลางตอนล่าง” ใน ๓๐ ปี ไทยคดีศึกษา (กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔), ๒๔๖.๒๕๕๗)
ดูรายละเอียดใน สุจิตต์ วงษ์เทศ, สุพรรณบุรีมาจากไหน (กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร,
กรมศิลปากร, ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคําแหง (กรุงเทพมหานคร: สํานักหอสมุดแห่งชาติ, ๒๕๔๗), ๓๔.
อย่างไรก็ตามความเห็นทางวิชาการที่ว่า เมืองสุพรรณภูมิเป็น “เมืองอกแตก” หรือไม่นั้น มีความเห็น ไปในทาง ๒ กระแส กระแสหนึ่งเห็นไปในทางว่าเป็น “เมืองอกแตก” ที่สําคัญคือ ทัศนะของ ศรีศักร วัลลิโภดม (๒๕๒๖) ซึ่งศึกษาจากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศพบว่าบริเวณที่เป็นเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่ง ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ําสุพรรณบุรีนั้น มีเมืองโบราณสร้างทับกันอยู่บริเวณเมืองเก่าครอบคลุมทั้งสองฝั่งของ แม่น้ําสุพรรณบุรี เพราะมีแนวคูน้ําคันดินทางฝั่งทิศตะวันออกปรากฏอยู่ ทั้งนี้ งานศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณในเวลาต่อมา อาทิ รัตนา หนูน้อย (๒๕๒๕) วารุณี โอสถารมย์ (๒๕๔๖) ล้วนเห็นไปในทางเดียวกันว่าผังเมืองสุพรรณภูมิเป็น “เมืองอกแตก” ในขณะที่อีกกระแส เช่น ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ (๒๕๕๓) เห็นว่าเมืองสุพรรณภูมิไม่ใช่ “เมืองอกแตก” แต่ใช้แม่น้ําสุพรรณบุรีเป็นเมืองทาง ทิศตะวันออก คันคู าเติมที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศนั้นอยู่ห่างไกลกระจายหัวบานออกไปซึ่งทําให้ ผังเมืองดูไม่ได้สัดส่วน แท้จริงแล้วแนวคู ด้านฝั่งตะวันออกถูกขุดขึ้นภายหลังเพื่อประโยชน์ทางการ เกษตรกรรมมากกว่า.
วีระดา ทองมิตร, “สุพรรณภูมิ … แว่นแคว้นโบราณแห่งลุ่มแม่น้ําสุพรรณบุรี” ใน เมืองโบราณ ปีที่ ๔๒ ฉบับที่ ๔ (ตุลาคม-ธันวาคม, ๒๕๕๙), ๑๕.
รูปแบบความสัมพันธ์ระบบเมืองคู่ปรากฏบริเวณลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาหลายแห่ง เช่น ในซีกตะวันออก ทางแคว้นละโว้-อโยธยา ปรากฏเมืองคู่คือเมืองลพบุรีและอโยธยา ขณะที่บ้านเมืองที่อยู่ถัดขึ้นไปตอนบน เช่น แคว้นสุโขทัยมีเมืองคู่คือเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย เป็นต้น ดูรายละเอียดประเด็นนี้ใน ธิดา สาระยา, “สร้างบ้านแปงเมืองระบบเมืองคู่สถาบันเมืองลูกหลวง” ในเมืองโบราณ ฉบับสุพรรณภูมิ ปีที่ 8 ฉบับที่ ๒ (เมษายน-กรกฎาคม, ๒๕๒๖), ๑๓-๒๗.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔),
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, เจดีย์ในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา. (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ. ๒๕๖๐), ๔๘๗.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔), ๒๘.
น. ณ ปากน้ํา, “ศิลปะแห่งอาณาจักรสุพรรณภูมิ, เมืองโบราณ ปีที่ ๙, ฉบับที่ ๒ (เมษายน-กรกฎาคม,๒๕๒๖), ๓๐-๓๑.
สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน, (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๕๐), ๒๘. และดูใน สันติ เล็กสุขุม, “เจดีย์วัดพระรูป อําเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี หลักฐานใหม่ที่ ค้นพบ,” ใน รวมบทความ มุมมอง ความคิดและความหมาย: งานช่างไทยโบราณ (กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๔๔), ๕๘-๗๐.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์, เจดีย์ในประเทศไทย: รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา (กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ, ๒๕๖๐), ๔๘๗-๔๘๙
จารึก วิไลแก้ว, “กลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยม: เมืองสุพรรณบุรี,” ใน รวมบทความทางวิชาการ ๓๒ พรรษา ท่านศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จํากัด, ๒๕๓๔), ๒๒๗-๒๕๘.
กรมศิลปากร, รายงานการขุดแต่งเจดีย์วัดพระรูป อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๔), และ กรมศิลปากร, รายงานการบูรณะเจดีย์วัดพระรูป ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี (เอกสารอัดสําเนา) (ม.ป.ท., ๒๕๓๗)
จารึก วิไลแก้ว, “กลุ่มเจดีย์แปดเหลี่ยม: เมืองสุพรรณบุรี,” ใน รวมบทความทางวิชาการ ๗๒ พรรษา ท่านศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิฆเณศ พรินท์ติ้ง เซ็นเตอร์ จํากัด, ๒๕๓๔), ๒๒๗-๒๕๘.
วารุณี โอสถารมย์, “พัฒนาการจากเมืองอู่ทองโบราณถึงรัฐสุพรรณภูมิ พุทธศตวรรษที่ ๘-๑๕ กรณีศึกษาประวัติศาสตร์รัฐอิสระในลุ่มน้ําภาคกลางตอนล่าง” ใน ๓๐ ปี ไทยคดีศึกษา (กรุงเทพมหานคร: สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ๑๔๘.
เฉลิม ยงบุญเกิด, บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ (กรุงเทพมหานคร: มติชน, ๒๕๕๓), พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๔. ทั้งนี้ แต่เดิมยังเชื่อกันว่า “เสียน” คือ สุโขทัย