พระพิมพ์มอญแปลง

Share on facebook
Facebook
Share on email
Email

ข้อมูล พระมอญแปลง

พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป

            “พระพิมพ์มอญแปลง” พระมอญแปลงมีรูปทรงกลมรี ปลายค่อนข้างแหลม ลักษณะการพิมพ์ค่อนข้างตื้น พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ แสดงปางมารวิชัย เค้าพระพักตร์ทรงรี ด้านหลังขององค์พระนูนเล็กน้อย พระพิมพ์นี้นิยมเรียกกันว่า “พระมอญแปลง” พระมอญแปลงมีเนื้อพระค่อนข้างละเอียด มีเม็ดแร่สีน้ำตาลอมแดงและเม็ดกรวดกระจายอยู่ทั่วองค์
            พระพิมพ์มอญแปลงจัดอยู่พระชุดกิมตึ๋งของวัดพระรูปที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วย พระสี่กร พระมอญแปลง พระประคำรอบ พระนาคปรก
            การเรียกชื่อพระมอญแปลง มีที่มาจากวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน ในตอนที่พลายชุมพลปลอมตัวเป็นมอญเพื่อไปรบกับจมื่นไวยวรนาทหรือพลายงาม พลายชุมพลนั้นเป็นบุตรของขุนแผนกับนางแก้วกิริยา และนับเป็นน้องคนละแม่ของพลายงาม การเรียกชื่อพระพิมพ์นี้ว่ามอญแปลงนั้นสันนิษฐานว่าอาจจะเนื่องจากให้ความสำคัญพระพิมพ์นี้ต่อมาจากพระขุนแผนและพระพลายงาม ประกอบกับพระพิมพ์นี้มีลักษณะคล้ายกับพระพิมพ์พุทธคยาซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่นิยมมาก่อนในศิลปะพม่าสมัยพุกาม จึงตั้งชื่อพระพิมพ์นี้ว่าพระมอญแปลง