พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

Share on facebook
Facebook
Share on email
Email
พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป

            พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร จากคำบอกเล่ากล่าวว่า แต่เดิมเคยประดิษฐานในเก๋งจีนที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๕๐ และเคยมีอีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่คู่กัน ตามความนิยมในการประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นคู่ ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียว
            พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร คือพระพุทธรูปที่แสดงปางประทานอภัย ๒ พระหัตถ์ กล่าวคือแสดงปางด้วยการยกพระหัตถ์ทั้งสองข้างขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออก และปลายนิ้วพระหัตถ์ตั้งขึ้น ซึ่งจะต่างจากปางห้ามญาติที่แสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวา และปางห้ามพระแก่นจันทน์ที่แสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้าย สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นพุทธประวัติตอนทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบเหล่าชฎิล โดยทรงห้ามน้ำฝนที่ตกหนักในบริเวณนั้นมิให้ท่วมปริมณฑลที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ทำให้เหล่าชฎิลจำนวนมากในกรุงราชคฤห์หันมาศรัทธานับถือพระพุทธศาสนา
            พุทธลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้มีพระพักตร์ค่อนข้างกลมกึ่งรูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสามารถถอดออกได้ พระขนงโก่ง พระเนตรเปิดและมองตรง เปลือกพระเนตรป้ายเป็นแผ่น พระนาสิกค่อนข้างเล็กและโด่ง พระโอษฐ์เล็ก เส้นพระโอษฐ์เกือบเป็นเส้นตรงตวัดปลายพระโอษฐ์เล็กน้อยคล้ายเรือประทุน พระวรกายเพรียวบาง จีวรเรียบห่มคลุมถึงพระศอ นิ้วพระหัตถ์เรียวยาวเสมอกัน ฐานพระพุทธรูปถอดแยกจากองค์พระได้ เป็นทรงแปดเหลี่ยมตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ และประดับด้วยกระจก ด้านหลังฐานมีห่วงสำหรับเสียบก้านฉัตร มีความสูงรวมองค์พระกับฐาน ๒๓๐.๕ ซม. เฉพาะองค์พระสูง ๑๗๙ ซม. เฉพาะฐานสูง ๕๑.๕ ซม.
            พระพุทธรูปองค์นี้มีรูปแบบศิลปะที่พัฒนาสืบต่อมาจากงานรุ่นก่อน โดยช่างชาวบ้านที่มีฝีมือและความชำนาญ จุดสังเกตที่สำคัญคือ ฐานพระพุทธรูปทรงแปดเหลี่ยม ที่มีการประดับลวดลายและตกแต่งด้วยกระจก ลักษณะลวดลายดังกล่าวน่าจะมีที่มาจากแม่พิมพ์ชุดเดียวกับงานของบ้านช่างหล่อ ธนบุรี โดยน่าจะเป็นลวดลายจากชุดแม่พิมพ์หินสบู่ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ (หม่อมเจ้าดิศ ดวงจักร (พ.ศ. ๒๓๖๑ – ๒๔๒๘)) ช่างอย่างวิเศษในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔-๕ ที่มีความเชี่ยวชาญในการปั้นหล่อและการออกแบบลวดลาย จึงกำหนดอายุพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้อยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรืออยู่ในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ลงมา สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้คง “นำเข้า” มาจากกรุงเทพฯ เพื่อประดิษฐานในเก๋งจีน ที่สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ ของวัดที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
            นอกจากนี้ จุดที่น่าสนใจของพระพุทธรูปองค์นี้ยังได้แก่ ลวดลายภายในช่องสี่เหลี่ยมรอบฐานพระพุทธรูป ที่ตกแต่งเป็นรูปสัตว์และสัญลักษณ์มงคลต่างๆ อยู่บนลายประแจจีน รวมถึงมีรูปเรือกลไฟอเมริกันที่สะท้อนยุคสมัยวัฒนธรรมกระฎุมพี การค้าและการต่างประเทศในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

The Ham Samut Posture Buddha Image  
            The standing Buddha image in Ham Samut (restraining the ocean) posture is of Rattanakosin art style during the second half of the 24th Buddhist Century period, or since about the reign of King Rama the Third (King Phra Nang Klao Chao Yu Hua).  The Buddha images in this period have a slim body with the face being rather round in the semi-oval shape, with small knots of hair and with the crown being like curved eyebrow flames.  His eyebrow lines and eye periphery lines are shaped as the same plate similar to that in the Buddha images of the final period of Ayutthaya.  His eyes are open and looking straight.  His nose is rather small and elevated.  His mouth is small with the lip line being almost a straight line and the end of the lip being lifted up a little like the tail of a small boat.  The feature of the mouth that is small with a little smile is called “the face of a puppet”, i.e. the face being still likes that of a dramatic puppet.  This is considered to be a popular art style of the royal artists.
            This standing Buddha image in Ham Samut posture at Wat Phra Rup has the above-mentioned Buddhist art style including the puppet-liked face, the lip being like the tail of a small boat, and the small knots of hair. The total height of the body of the Buddha image plus the base is 230.5 cm. The height of the Buddha image only is 179 cm.  Its crown of curved eyebrow flames can be removed. Its robe is smooth and covers its body up to the neck. Its fingers are slender and of equal lengths.  At the back of the base there is a loop for inserting a tiered umbrella pole.  At the octagonal base there is the decoration with color glass pieces. The design of the altar is similar to that of Phra Maha Chakkaphat (emperor) decorated Buddha image at Wat Wiset Kan in Ban Chang Lo village, Thon Buri district of Bangkok Metropolis, which is exhibited in the National Museum in Bangkok.  Another place of interest is the rectangular cavities around the octagonal base that are decorated with the pictures of animals and merit symbols placed on Pra Chae Chin (Chinese wrench) decorative design.  There is also the picture of American steam launches reflecting the middle class culture, commerce and foreign affair during the early Rattanakosin period.  From what is told, this Buddha image used to be in a Vihara (temple) with Chinese-styled roof, which is a Vihara constructed during the latter period, i.e. about B.E. 2450.  However, it is possible that this Buddha image had been previously “imported” from Bangkok to Wat Phra Rup since the final period of the 24th Buddhist Century, which was the period that the power from the central government began to spread to Suphan Buri.  Also, since this Buddha image has the feature of being a standing Buddha image of the Ham Samut posture, it is assumed that there should have been another Buddha image constructed as its pair.  Nevertheless, there is only one image remaining at present.