พระพุทธบาทไม้

ประวัติความเป็นมาของพระพุทธบาทไม้ และมณฑปริมแม่น้ำ
            หลักฐานแผ่นไม้จารึกเรื่องสร้างมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ กล่าวถึงความเป็นมาของพระพุทธบาทไม้ว่า “ได้รับข่าวเล่ากันต่อๆ มาว่า ฝ่าพระพุทธบาทนี้ลอยน้ำมาแต่เหนือกับพระพุทธรูปหนึ่งองค์นี้ก่อนกรุงเก่า” อย่างไรก็ดี มนัส โอภากุล ปราชญ์เมืองสุพรรณได้บันทึกไว้ว่า พระเทพวุฒาจารย์ (หลวงพ่อเปลื้อง) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภูมิ ได้เล่าว่า ได้ยินสืบต่อมาว่า เดิมพระพุทธบาทนี้อยู่ที่วัดเขาดิน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ พระภิกษุรูปหนึ่งได้ขนย้ายพระพุทธบาทไม้ไปซ่อนพวกพม่า จนกระทั่งต่อมาได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระรูปจนถึงปัจจุบัน[๑]
            ใน พ.ศ. ๒๔๕๙ พระแจงวินัยธรวัดพระรูป ได้ชักชวนชาวบ้านและคณะสงฆ์ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างมณฑปดังปรากฏรายนามบนแผ่นไม้ ทั้งนี้ ยังมีการจัดงานนมัสการพระพุทธบาทเป็นประจำในช่วงวันที่ ๓-๗ เดือนเมษายน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านและพระสงฆ์ ที่มีต่อพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมาตั้งแต่อดีต 
[๑] มนัส โอภากุล, ประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณ (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗), ๑๘๒.


รูปแบบของพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป
         
            พระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมีลักษณะเป็นภาพสลักบนแผ่นไม้เนื้อแข็งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วิธีการสลักมีทั้งการถากเป็นรูปลายเส้น การสลักแบบนูนต่ำ และการสลักแบบนูนสูงเป็นรูปลอยตัว ขนาดประมาณกว้าง ๗๔ ซม. ยาว ๒๒๒ ซม. และหนา ๑๐ ซม. ด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธบาท ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระพุทธประวัติตอนตรัสรู้ พระพุทธบาทนี้เป็นพระบาทเบื้องขวา แกะสลักให้มีลักษณะนูนออกมา รูปทรงเป็นเรขาคณิตสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายด้านหนึ่งมน พระพุทธบาทนี้สลักรูปโดยมีเจตนาให้เป็นแนวนอน และให้ตั้งตะแคงขึ้นเพื่อให้มองเห็นรูปได้ทั้งสองด้าน การทำพระพุทธบาทในลักษณะนี้เป็นที่นิยมโดยทั่วไป พบตัวอย่างในศิลปะอยุธยา คือพระพุทธบาทศิลาพบที่อยุธยา ด้านหน้าเป็นรูปรอยพระพุทธบาท ด้านหลังเป็นรูปธรรมจักร[1] สำหรับการประดิษฐานพระพุทธบาทตะแคงมีตัวอย่างเหลือปรากฏให้เห็นเป็นรูปพระพุทธบาทอยู่ทั้งสองข้างของทางเข้าพระปรางค์ประธานวัดพุทไธสวรรย์ พระนครศรีอยุธยา
            การสลักให้มีลักษณะนูนเป็น “รูปพระพุทธบาท” อันแสดงถึงฝ่าพระบาทของพระพุทธเจ้า เป็นสัญลักษณ์ที่เคยใช้แทนพระองค์พระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณยุคที่ยังไม่มีการทำพระพุทธรูป เช่นเดียวกับรูปธรรมจักร ต้นโพธิ์ และบัลลังก์ โดยยังใช้สืบเนื่องกันมาอีกระยะหนึ่งในสมัยที่มีการทำพระพุทธรูปแล้ว จัดเป็นปูชนียวัตถุแบบ “อุเทสิกะเจดีย์” คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า หรือเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า[2] รูปแบบพระพุทธบาทและคติความเชื่อนี้ได้สืบทอดต่อมาในลังกา มีทั้งในลักษณะรูปพระพุทธบาทคู่และรูปพระพุทธบาทเดี่ยว สำหรับในประเทศไทยมีความนิยมในการทำรูปพระพุทธบาทน้อยมาก โดยส่วนใหญ่นิยมทำในลักษณะเป็นรอยพระพุทธบาทที่แกะสลักเว้าลึกลงไป รูปพระพุทธบาทที่เก่าแก่ในไทยน่าจะได้แก่พระพุทธบาทที่วัดเขาดีสลัก สุพรรณบุรี กล่าวได้ว่าพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมีรูปแบบศิลปะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนให้เห็นถึงเจตนาในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อความหมายพิเศษบางประการที่แตกต่างไปจากพระพุทธบาทโดยทั่วไป 
[1] Virginia McKeen, รอยพุทธบาทพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัททกัปป์นี้ ตามกรอบคิดแบบสิงหล-สยาม. (สมหวัง แก้วสุฟอง แปล). (กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๕๕), ๗๕-๗๖.
[2] นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๓๓), ๑๐, ๑๒.


ข้อสังเกตมงคล ๑๐๘ บนพระพุทธบาทไม้
   
            ๑. รูปพรหมสี่หน้า (อยู่ก่อนรูปเรือทอง) ซึ่งไม่ปรากฏในคัมภีร์หลักอย่างคัมภีร์ชินาลังการฎีกาและคัมภีร์ปาทวันทนา สันนิษฐานว่าเกิดจากการตีความมงคล “จตุมุขา สุวณฺณนาวา” (เรือทองสี่หน้า) ที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาหรือคัมภีร์ปาทวันทนา ออกเป็น ๒ มงคลคือ “จตุมฺมขา” ที่แปลว่าพรหมสี่หน้าหรือลูกศรที่มีปลายสี่แฉก และ “สุวณฺณนาวา” ที่แปลว่าเรือทอง การตีความในลักษณะนี้น่าจะมีมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยดังปรากฏในจารึกหลักที่ ๑๐๒[๑] และอาจจะสืบต่อมาในสมัยอยุธยาดังปรากฏในคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณที่จารในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการตีความชื่อมงคลที่แตกต่างออกไปจากคัมภีร์ดั้งเดิม อันเนื่องมาจากรายชื่อมงคลเป็นภาษาบาลีและถูกกล่าวถึงอย่างรวมๆ โดยไม่ได้แยกกล่าวเป็นรายการ ย่อมจะส่งผลต่อการสร้างสรรค์รูปมงคลที่แตกต่างออกไปตามการตีความนั้นด้วย
            ๒. มงคลรูปเต่า ซึ่งไม่ตรงกับเนื้อหาทั้งในคัมภีร์อรรถกถาอนาคตวงศ์ คัมภีร์ชินาลังการฎีกา และคัมภีร์ปาทวันทนา รวมถึงไม่พบในจารึกหลักที่ ๑๐๒ แต่ได้พบในคัมภีรพุทฺธลกฺขณที่จารในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ การทำมงคลรูปเต่ายังปรากฏในพระพุทธบาทจากวัดเสด็จ กำแพงเพชร พระพุทธบาทจากวัดพระราม พระนครศรีอยุธยา โดยปรากฏคู่กับรูปปลา รวมถึงพระพุทธบาทไม้ประดับมุกจากวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ 
            ๓. มงคลรูปช้าง ๒ ตำแหน่งติดกัน Virginia McKeen[๒] วิเคราะห์ว่า แม้คัมภีร์สมันตภัททิกะซึ่งอธิบายมงคลบนพระพุทธบาทพระศรีอริยเมตไตรย์พุทธเจ้า กับคัมภีร์ชินาลังการซึ่งอธิบายมงคลบนพระพุทธบาทพระโคตมะพุทธเจ้าจะอธิบายมงคล ๑๐๘ คล้ายกันมาก แต่คัมภีร์ทั้งสองเล่มก็มีความแตกต่างกันในมงคลรูปช้าง โดยคัมภีร์สมันตภัททิกะระบุว่าเป็น “อุโบสถวรรณราชา” คือพญาช้างอุโบสถ แต่ในคัมภีร์ชินาลังการฎีการะบุว่าเป็น “อุโบสถฉันททันตะ-หัตถิราชา” คือพญาช้างอุโบสถและพญาช้างฉัททันต์ และยังได้พบการกล่าวถึงพญาช้างทั้ง ๒ ในคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณที่จารในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ซึ่งในประเด็นนี้พระคันธสาราภิวงศ์วิเคราะห์ว่าที่ถูกต้องควรจะมีรูปช้างอุโบสถเท่านั้น อันหมายถึงช้างตระกูลอุโบสถที่เป็นช้างคู่บารมีของพระเจ้าจักรพรรดิ[๓] อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มพระพุทธบาทที่จัดเรียงมงคล ๑๐๘ ในวงธรรมจักรและมีการทำมงคลรูปพญาช้างทั้ง ๒ พบในรอยพระยุคลบาทที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระพุทธบาทจากวัดเสด็จ และพระพุทธบาทจากวัดพระราม ซึ่งควรจะหมายถึงอุโบสถฉันททันตะ-หัตถิราชาตามคัมภีร์ และเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าคือพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าโคตม
            ๔. มงคลรูปกินนร-กินนรี การทำรูปกินนรกับกินนรีรวมเป็นรูปสัญลักษณ์เดียวกัน เป็นรูปแบบที่ไม่ปรากฏมาก่อน ซึ่งโดยทั่วไปนิยมทำรูปมงคลทั้งสองแยกกันคนละช่อง รูปสัญลักษณ์ลักษณะพิเศษดังกล่าวคงได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นบนเงื่อนไขเพื่อให้เกิดช่องว่างเพิ่มสำหรับใส่รูปมงคลอื่น โดยพยายามรักษาความหมายของกินนรและกินนรีไว้ แสดงให้เห็นว่าการทำรูปมงคล ๑๐๘ บนพระพุทธบาทย่อมมีการยักย้ายปรับเปลี่ยนได้เสมอบนพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของช่างผู้สร้าง ทำให้เกิดมงคลรูปสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบ มงคลรูปสัญลักษณ์กินนร-กินนรีนี้นับเป็นเอกลักษณ์ของพระพุทธบาทที่วัดพระรูป
[๑] รักชนก โคจรานนท์, การวิเคราะห์ลักษณะและความหมายรอยพระพุทธบาทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๕๙), ๒๖.
[๒] Virginia McKeen, รอยพุทธบาทพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัททกัปป์นี้ ตามกรอบคิดแบบสิงหล-สยาม. (สมหวัง แก้วสุฟอง แปล). (กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๕๕), ๕๕.
[๓] พระคันธสาราภิวงศ์, ปัชชมธุ (กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๕๐), ๑๓๓-๑๓๔.


ลายมงคล ๑๐๘ บนพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป
                
            พระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมีการจัดเรียงรูปมงคล ๑๐๘ ในวงธรรมจักรขนาดใหญ่กลางฝ่าพระบาท ในลักษณะเวียนทักษิณาวรรตจากด้านในออกสู่ด้านนอก จากการศึกษาพบว่าโดยภาพรวมแล้วพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมีรูปแบบศิลปะใกล้เคียงกับพระพุทธบาทจากวัดพระราม พระนครศรีอยุธยาหลายประการ ทั้งในเรื่องการแบ่งวงธรรมจักรออกเป็น ๔ ชั้นด้วยการทำกรอบวงกลมซ้อนกัน ๒ เส้น การทำรูปมงคลที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันหลายประการ อาทิ รูปพรหมโลก รูปเทวโลก รูปภูเขา รูปพระอาทิตย์ รูปพระจันทร์ เป็นต้น รวมถึงยังมีการทำลายเส้นวงโค้งเต็มพื้นพระบาทและนิ้วพระบาท จึงสันนิษฐานว่าพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปน่าจะได้รับอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะมาจากพระพุทธบาทจากวัดพระราม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีการจัดเรียงรูปพรหมโลกและเทวโลกไว้ด้านนอกซึ่งแสดงถึงการคลี่คลายไปจากรูปแบบเก่า จึงน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยมีอายุหลังกว่าพระพุทธบาทจากวัดพระรามที่กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ เล็กน้อย นอกจากนี้พระพุทธบาทไม้วัดพระรูปยังมีระเบียบการจัดเรียงรูปมงคล ๑๐๘ คล้ายกับพระพุทธบาทจากวัดเสด็จ กำแพงเพชร แต่มีรูปแบบศิลปะแตกต่างกันคนละสกุลช่างกัน โดยน่าจะมีอายุร่วมสมัยกับพระพุทธบาทจากวัดเสด็จ  
            แม้รูปมงคลที่ปรากฏในพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปส่วนใหญ่จะตรงกับคัมภีร์สำคัญอย่างอรรถกถาอนาคตวงศ์ คัมภีร์ชินาลังการฎีกา และคัมภีร์ปาทวันทนา แต่ก็มีที่ต่างกันหลายประการทั้งในเรื่องรายการมงคลและการจัดเรียงลำดับมงคล โดยเฉพาะการเพิ่มรูปมงคลพญาเสือ รูปพระพรหม (อยู่ก่อนหน้ารูปเรือทอง) รูปพระแท่นบัลลังก์ รูปพัดใบตาล (อยู่ต่อจากรูปพระแท่น) และรูปเต่า อย่างไรก็ดี ได้พบรูปมงคลที่เพิ่มมาดังกล่าวในคัมภีร์พุทฺธบาทลกขณที่จารขึ้นในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ จึงสันนิษฐานว่าการทำรูปมงคล ๑๐๘ บนพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณมากกว่าคัมภีร์ทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าว และสันนิษฐานว่าคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณน่าจะเป็นที่รู้จักมาแล้วอย่างน้อยในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ตามข้อสันนิษฐานอายุพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป ดังปรากฏร่องรอยคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณที่จารในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ที่คงจะจารสืบต่อกันมาจากคัมภีร์ในอดีต
            อนึ่ง ในการทำรูปมงคล ๑๐๘ บนพระพุทธบาท พบว่ามีทั้งการสร้างเป็นรูปเหมือนจริงและรูปสัญลักษณ์ ตามรายชื่อมงคลที่ภาษาบาลีซึ่งกล่าวอย่างรวมๆ อยู่ในคัมภีร์โดยไม่ได้แยกกล่าวเป็นรายการ ในการทำรูปมงคลจึงขึ้นอยู่กับการตีความชื่อมงคลของช่างผู้สร้าง รวมถึงยังต้องคำนึงถึงระเบียบจารีตงานศิลปกรรมที่ทำสืบต่อกันมาด้วย ดังนั้นจึงยังไม่อาจกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป จะเกิดจากการรับแรงบันดาลใจมาจากคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณโดยตรง เนื่องจากยังขาดหลักฐานคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ให้ศึกษาเปรียบเทียบ หรือจะเกิดจากการรับแรงบันดาลใจทางอ้อมผ่านระเบียบจารีตของงานศิลปกรรมที่สืบทอดต่อกันมา หรืออาจจะเกิดจากการผสมผสานระหว่างอิทธิพลแรงบันดาลใจจากคัมภีร์พุทฺธบาทลกฺขณกับระเบียบจารีตงานของศิลปกรรมที่สืบทอดต่อกันมาก็เป็นได้


พระพุทธบาทไม้วัดพระรูป
: พระพุทธบาทที่มีสองด้าน
            ด้านหลังของพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปสลักเป็นรูปพระพุทธประวัติตอนตรัสรู้ที่ประกอบด้วยรูปมารผจญ-ชนะมาร แนวกลางเป็นรูปพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เบื้องล่างเป็นรูปยักษ์ ๕ ตนกำลังแบกพระแท่นที่ประทับ ข้างพระแท่นที่ประทับมีรูปพระแม่ธรณีกำลังบิดมวยผม มีรูปแบบศิลปะใกล้เคียงกับรูปพระพุทธบาทที่อยู่อีกด้านหนึ่งของแผ่นไม้ แสดงให้เห็นถึงเจตนาในการสร้างสรรค์รูปทั้งสองพร้อมกันตั้งแต่แรกสร้าง
            การเลือกทำรูปพุทธประวัติคงเนื่องจากเป็นเรื่องที่นิยมแพร่หลายในช่วงเวลานั้น และการเลือกทำรูปพุทธประวัติตอนตรัสรู้ที่ประกอบด้วยรูปมารผจญ-ชนะมาร คงเนื่องจากเห็นว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุดในพุทธประวัติที่แสดงให้เห็นว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแสดงความเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก ซึ่งมีความหมายสอดคล้องกับความหมายของพระพุทธบาทที่อยู่อีกด้านหนึ่ง สำหรับการทำรูปพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแทนการทำรูปพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าไม่ค่อยปรากฏให้เห็นมากนักในเขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา การทำรูปพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าหรือพระแท่นวัชรอาสน์แทนการทำรูปพระพุทธเจ้าที่พระพุทธบาทไม้วัดพระรูป สันนิษฐานว่าอาจจะเนื่องจากพื้นที่มีน้อยจึงไม่เอื้อต่อการทำรูปพระพุทธเจ้าในรูปมนุษย์ได้ ตัวอย่างเช่นในสมุดภาพไตรภูมิ[1] นักวิชาการบางท่านวิเคราะห์ว่า คงเนื่องจากเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะทำรูปพระพุทธรูปไว้ด้านหลังของฝ่าพระบาทซึ่งเป็นส่วนเท้าของเบื้องต่ำ[2] ดังนั้นจึงเลือกใช้ระบบสัญลักษณ์แทนความหมายถึงพระพุทธเจ้า โดยทำเป็นรูปพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าหรือแท่นวัชรอาสน์ ซึ่งทำให้รูปแบบศิลปะของพระพุทธบาทนี้อยู่ในลักษณะระบบสัญลักษณ์ทั้งสองด้าน 
            นักวิชาการต่างประเทศบางท่านวิเคราะห์ว่า พระพุทธบาทไม้วัดพระรูปมีเนื้อหาผิดยุคสมัยอย่างชัดเจนคล้ายกับพระพุทธบาทจากวัดพระราม พระนครศรีอยุธยา แม้รูปบุคคลคือท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ แต่งกายด้วยผ้าพันคอและต่างหูคล้ายรูปกษัตริย์ที่นครวัด และรูปพญามารกับเหล่ามารแต่งกายสวมชุดนักรบและมงกุฎแบบนครวัด ซึ่งมีอายุราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๑๗ แต่มีรูปพระแม่ธรณีที่มีลักษณะเหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี ดังนั้นพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปจึงมีอายุอยู่ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[3] อย่างไรก็ดี จากการศึกษาพบว่าแม้รูปพระแม่ธรณีทั้งสองแห่งดังกล่าวจะมีลักษณะท่าทางการยืนบีบมวยผมคล้ายคลึงกัน แต่รูปแบบเครื่องแต่งกายของรูปพระแม่ธรณีทั้งสองแห่งมีความแตกต่างกันมากอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงควรกำหนดอายุอยู่คนละยุคสมัยกัน
[1] รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “การศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่มาของสมุดภาพไตรภูมิ”, วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๒, ๒๘๒.   
[2] น. ณ ปากน้ำ, เที่ยวเมืองศิลปะอู่ทอง (กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ ๑๙๙๙ จำกัด, ๒๕๔๒), ๙๑-๙๒.   
[3] Virginia McKeen. รอยพุทธบาทพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ในภัททกัปป์นี้ ตามกรอบคิดแบบสิงหล-สยาม. (สมหวัง แก้วสุฟอง แปล). (กรุงเทพฯ: มูลนิธิพิริยะ ไกรฤกษ์, ๒๕๕๕), ๑๔๘.


พุทธประวัติตอนตรัสรู้บนพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป
            การสลักรูปกองทัพมารและพระแม่ธรณีบีบมวยผมประดับฐานพระพุทธรูปในประเทศไทย พบหลักฐานมาอย่างน้อยในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตัวอย่างเช่น แท่นสำริดรองรับพระพุทธรูปที่เป็นรูปพระแม่ธรณีกำลังจับปลายผมพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ศิลปะเขมรอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘[1] รูปแบบการประดับรูปกองทัพมารและพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่ฐานของพระพุทธรูปในศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลางอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศิลปะเขมรที่มีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการแต่งกายและท่าทางของรูปพลมาร ศิลปะเขมรซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของศิลปกรรมที่เมืองอยุธยาตั้งแต่แรกสร้างจึงยังเหลือสืบเนื่องมาในลักษณะบางประการที่ผสมผสานอยู่ในศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลางที่สร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒[2] ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการทำรูปกองทัพมารและพระแม่ธรณีเล่าเรื่องพระพุทธประวัติตอนมารผจญ-ชนะมารบนพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปจึงน่าจะเป็นตัวอย่างของศิลปะอยุธยาในช่วงครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยเช่นกัน
            สำหรับการสลักรูปยักษ์แบกในท่านั่งชันเข่า ซึ่งมีรูปร่างล่ำสันแต่งกายโดยมีกรองศอเป็นแผงและมีเส้นเชือกคาดไขว้ที่หน้าอกแสดงให้เห็นถึงรูปแบบเครื่องแต่งกายในยุคต้น มีตัวอย่างปรากฏที่ประติมากรรมปูนปั้นแถวพลแบกมีเชือกคาดอกประดับอยู่ที่ผนังกระเปาะของฐานไพทีด้านใต้ของปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ เป็นศิลปะสมัยอยุธยายุคต้น กำหนดอายุอยู่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๐[3] การทำประติมากรรมรูปยักษ์แบกฐานเจดีย์นี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อเรื่องการค้ำชูพุทธศาสนา ซึ่งพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าหรือพระแท่นวัชรอาสน์ก็ถือเป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายถึงพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับเจดีย์ จึงสร้างสรรค์เป็นรูปยักษ์แบกพระแท่นที่ประทับนั่งตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าบนพระพุทธบาทไม้วัดพระรูปด้วยรูปแบบและคติความเชื่อเดียวกัน
[1] อรุณศักดิ์ กิ่งมณี, ทิพยประติมา (นนทบุรี: มิวเซียมเพรส, ๒๕๖๐), ๒๓๖-๒๓๘.
[2] สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง, “การประดับภาพกองทัพมารที่ฐานของพระพุทธรูปในศิลปะอยุธยา”, วารสารดำรงวิชาการ. ปีที่ ๓, ฉบับที่ ๖ (กรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๔๗), ๑๐-๒๗.
[3] สันติ เล็กสุขุม, คุยกับงานช่างไทยโบราณ (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๕๕), ๑๕๕, ๑๖๒.


ความหมายทางประติมานวิทยาของพระพุทธบาทไม้วัดพระรูป 
            มงคลรูปสัญลักษณ์ ๑๐๘ บนพระพุทธบาทที่วัดพระรูปนั้นมีความหมายถึงการแสดงออกถึงความมีสภาวะครอบจักรวาลของพระพุทธเจ้าและพระบารมีอันคุ้มครองและให้สิริมงคลต่อผู้ที่ได้ยึดถือพระองค์เป็นที่พึ่ง[๑] โดยการจัดเรียงมงคล ๑๐๘ ในวงธรรมจักรขนาดใหญ่กลางฝ่าพระบาทที่สอดคล้องกับฉากทัศน์จักรวาลหรือโลกสัณฐานที่อยู่ในแนววงกลมตามแนวคิดในคัมภีร์โลกศาสตร์ได้ช่วยทำให้ความหมายดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น โดยวงในสุดที่เป็นรูปดอกบัวบานซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์อันหมายถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถัดออกมาในวงที่สองประกอบด้วยรูปสัญลักษณ์ของโชคลาภ ความเจริญ ความอุดมสมบูรณ์ ได้แก่ รูปดอกพุดซ้อน รูปสวัสติกะ รูปหม้อที่มีดอกไม้ รูปภาชนะที่มีดอกไม้ รูปดอกบัว เป็นรูปสัญลักษณ์ของเครื่องประกอบบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิอันแสดงถึงยศศักดิ์ อำนาจ และความสูงส่ง ได้แก่ รูปดอกไม้ รูปพระแท่น รูปขอช้าง รูปพระขรรค์ รูปเศวตฉัตร และรูปสัญลักษณ์ของความดีความมีสิริมงคล ได้แก่ รูปพัดใบตาล ในวงที่สามและวงที่สี่ประกอบด้วยรูปสัญลักษณ์ในกลุ่มภพภูมิในจักรวาล ได้แก่ มหาสมุทร เขาจักรวาล เขาหิมพานต์ เขาพระสุเมรุ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทวีปใหญ่ทวีปน้อย สัตว์หิมพานต์ เทวโลก ๖ ชั้น และพรหมโลก ๑๖ ชั้น กล่าวได้ว่ามงคลรูปสัญลักษณ์ ๑๐๘ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของสุคติภูมิในจักรวาล ที่เริ่มตั้งแต่สิ่งที่ดีมีสิริมงคลในแดนมนุษย์ เรื่อยไปจนถึงเทวโลก ๖ ชั้นและพรหมโลก ๑๖ ชั้นอันเป็นที่พำนักของผู้มีบุญญาธิการทั้งหลาย ซึ่งเมื่อนับรวมมงคลทั้ง ๑๐๘ นี้แสดงถึงความมีสภาวะครอบจักรวาลของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่เหนือกว่าโลกทั้งสาม คือ สัตว์โลก (โลกคือเหล่าสัตว์) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) และโอกาสโลก (โลกคือที่อยู่ของเหล่าสัตว์) ด้วยบุญบารมีที่ทรงบำเพ็ญไว้นับไม่ถ้วน มงคล ๑๐๘ เหล่านี้ปรากฏเฉพาะบนฝ่าพระบาทเท่านั้นจึงแสดงถึงความเป็นใหญ่ เปรียบดั่งเหยียบโลกทั้งสามไว้ใต้ฝ่าพระบาทของพระองค์[๒] นอกจากนี้ การเลือกทำรูปพุทธประวัติตอนตรัสรู้ไว้อีกด้านหนึ่งของพระพุทธบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระโพธิสัตว์ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแสดงความเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งโลก ยังมีความหมายสอดคล้องกับความหมายของพระพุทธบาทที่อยู่อีกด้านหนึ่งด้วยเช่นกัน        
[๑] นันทนา ชุติวงศ์, รอยพระพุทธบาทในศิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์ (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, ๒๕๓๓), ๓๓-๓๔.
[๒] พระคันธสาราภิวงศ์, ปัชชมธุ, (พระคันธสาราภิวงศ์ แปล) (กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๕๐), ๑๔๘.


พระพุทธรูปหินทรายคู่พระพุทธบาทไม้
            พุทธพุทธรูปสลักขึ้นจากหินทรายสีเทาชิ้นเดียวทั้งองค์ พุทธศิลป์จัดอยู่ในกลุ่มพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนต้น (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐) หรือที่นิยมเรียกกันว่าศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๓ มีพุทธลักษณะสืบต่อมาจากพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองรุ่นที่ ๒ โดยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่อย่างชัดเจน คือเป็นพระพุทธรูปแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระรัศมีรูปเปลวไฟมีกลีบบัวประดับ เม็ดพระศกค่อนข้างเล็ก พระพักตร์วงรูปไข่ พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระขนงโก่งโค้ง มีเส้นไรพระศก กึ่งกลางไรพระศกหยักแหลมลงล้อกับพระขนง พระกรรณค่อนข้างสั้นมีเส้นตัดแนวเฉียง องค์พระชะลูด ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิเป็นแถบใหญ่ยาวจรดพระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรง         
            พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่คู่กับพระพุทธบาทไม้มาช้านาน ดังปรากฏในภาพถ่ายเก่าของวัดพระรูป เชื่อว่าคือพระพุทธรูปองค์ที่กล่าวถึงในจารึกบนแผ่นไม้คราวสร้างมณฑปริมน้ำใน พ.ศ. ๒๔๕๙ ความว่า “ได้รับข่าวเล่ากันต่อๆ มาว่า ฝ่าพระพุทธบาทนี้ลอยน้ำมาแต่เหนือกับพระพุทธรูปหนึ่งองค์นี้ก่อนกรุงเก่า”

The Wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup
            The wooden Phra Buddhapada (Buddha’s footprint) is characterized as an engraving on a 74 cm wide, 222 cm long and 10 cm thick rectangular hard wooden board. The engraving methods include the carving into decoration lines, low-relief engraving, high-relief engraving, and floating engraving. On one side of the board it is engraved as Phra Buddhapada (Buddha’s footprint), while on the other side it is engraved into the picture of the Lord Buddha attaining enlightenment. This Phra Buddhapada is the footprint of his right foot, engraved in low-relief pattern. The overall shape is that of a rectangular with one end being curved. This Phra Buddhapada is carved as being horizontal, with the foot tilting up on one side to show both sides of the foot. This carving pattern of Phra Buddhapada has been generally popular. For example, Phra Buddhapada of Ayutthaya art style, i.e. a stone Phra Buddhapada found in Ayutthaya province. Its front side is engraved as the Lord Buddha’s footprint, while its back side is engraved as the picture of Dhammacakka (the Wheel of Truth). As for the established Phra Buddhapada with the foot tilting up, the only examples that are left to be found are those appeared on both sides of the road entering the main stupa of Wat Buddhai Sawan in Phra Nakhon Si Ayutthaya province.
            The engraving to produce relief picture of Phra Buddhapada showing the foot of Lord Buddha had been the symbol used to represent Lord Buddha since the ancient Indian art era before the creation of the Buddha images, as well as the other symbols such as the pictures of Dhammacakka, Bodhi tree, and Pallanka (throne).  All of these symbols were still used continuously for some periods after the creation of the Buddha images. They were considered to be Pujaniyavatthu (object of worship) in the type of Uddesikacetiya (memorial object of worship), i.e. the objects created as the symbols representing the Lord Buddha, or in memory of the Lord Buddha. The model of Phra Buddhapada and this accompanying belief have been passed on further in Sri Lanka in both the form of dual footprints and single footprint. In the case of Thailand, there is very little preference for creating Phra Buddhapada. The majority of Phra Buddhapada created in Thailand was in the form of engraving in a deep down basin. The old Phra Buddhapada in Thailand is probably Phra Buddhapada at Wat Khao Deesalak in Suphan Buri province.  It can be mentioned that the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup has specific art form which is its own identity reflecting the intention to create the work of art for some special purpose that is different from that of Phra Buddhapada in general.

The 108 Mangala Decorations on the Wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup
            In the middle of the sole of the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup, there are 108 Mangala (blessings) decorations organized in the Daksinavatta (clockwise) winding pattern from the middle to the rim of big Dhammacakka circles.  From the investigation, it is found that art style design of the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup as a whole is almost similar in many aspects to that of Phra Buddhapada from Wat Phra Ram in Phra Nakhon Si Ayutthaya province including the matter of dividing the Dhammacakka circle into four layers by making two overlapping circle framework lines, and creating many similar designs of Mangala decorations such as the Brahmaloka (Brahma world) design, the Devaloka (world of gods) design, the mountain design, the sun design, the moon design, etc.  There is also the making of curving decoration lines covering the sole and fingers of the foot.  Therefore, it is hypothesized that the art style design of the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup might have been influenced by the art style design of Phra Buddhapada in Wat Phra Ram.  However, since the Brahmaloka design and the Devaloka design are arranged to be out near the rim of the circle which is different from the previous designs, it is hypothesized that the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup probably had been created during the middle period of the 21st Buddhist Century which is later than the creation of Phra Buddhapada in Wat Phra Ram that might have occurred during the final period of the 20th Buddhist Century to the early period of the 21st Buddhist Century.  In addition, the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup also has the arrangement of 108 Mangala decorations similar to that of Phra Buddhapada from Wat Sadet in Kamphaeng Phet province, but with different art style designs.  So, the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup and Phra Buddhapada at Wat Sadet should have been created at about the same period.
            Although the majority of Mangala decorations that appear on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup are relevant to many important scriptures such as Atthakatha Anakhatawong, Jinalankaradhika, and Pathavanthana, there are many differences both in the list of Mangala and Mangala arrangement, especially the addition of Mangala pictures of Phya Suea (big tiger), Brahma (in front of the golden barge picture), Phra Thaen Pallanka (throne altar), palm leaf fan (after the Phra Thaen picture), and turtle.  However, the above-mentioned added pictures have been found in Buddhapada Lakkhana (Lord Buddha’s footprint characteristics) scripture written during the final period of the 23rd Buddhist Century.  So, it is hypothesized that the creation of 108 Mankala decorations on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup should have more relationship with Buddhapada Lakkhana scripture rather than with the above-mentioned three scriptures.  It is also hypothesized that Buddhapada Lakkhana scripture should have been known at least since the middle period of the 21st Buddhist Century in accordance with the hypothesized age of the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup, as appeared in the traces of Buddhapada Lakkhana scripture written during the final period of the 23rd Buddhist Century that was handed down from the scriptures in the past.
            Another point, in creating 108 Mankala decorations on Phra Buddhapada it is found that there are both the creation of virtual pictures and the creation of symbolic pictures based on the Mankala list in Pali language that is mentioned as a whole without mentioning of any specific list.  So, the creation of Mankala pictures depended on the interpretation of the Mankala names by the creating artists as well as the consideration of the customary regulations of art works imparted from generation to generation.  Therefore, it cannot be clearly mentioned that the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup was created based directly on the inspiration from Buddhapada Lakkhana scripture.  This is because we still lack the evidence of Buddhapada Lakkhana scripture in the 21st Buddhist Century to study comparatively, or perhaps it was created based on the inspiration indirectly received from the customary regulations of art works imparted from generation to generation, or it might be created as a result of the integration of the inspirational influence from Buddhapada Lakkhana scripture and the inspiration indirectly received from the customary regulations of art works imparted from generation to generation.

The Engraving of Life History of the Lord Buddha Attaining Enlightenment on the Wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup
            On the back side of the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup there is an engraving of the picture showing the life history of the Lord Buddha attaining enlightenment.  The engraving comprises the pictures of the confronting devils-defeating of the devils, with the middle line showing the altar on which the Lord Buddha sits.  Under the altar, there are the pictures of five demons bearing the altar.  Beside the altar, there is the picture of the Goddess of the Earth squeezing water from her chignon.  The art style of the pictures is similar to that of Phra Buddhapada on the other side of the wooden board showing the intention of creating the engravings on both sides of the board at the same time from the beginning.
            The selection of creating the picture of life history of the Lord Buddha is probably because it was the popular story in that period, and the choice of creating the picture of the Lord Buddha attaining enlightenment comprising the pictures of the confronting devils-defeating of the devils is probably because it is the most important episode of the Lord Buddha’s life history showing Phra Bodhisatta (a Buddha-to-be) attaining enlightenment, which shows him to be the clear knower of the way of the world.  This meaning is consistent with the meaning of Phra Buddhapada on the other side of the board.  As for the creating the picture of altar to be the seat of the Lord Buddha while attaining enlightenment instead of creating the image of the Lord Buddha himself which is the symbol representing the Lord Buddha, this creation does not appear to be seen much in the Chao Phraya River basin area.  The choice of creating the picture of altar to be the seat of the Lord Buddha while attaining enlightenment, or the Vatchara-assana (diamond seat), instead of creating the picture of the Lord Buddha himself on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup is hypothesized as probably because the available small area for engraving does not facilitate the engraving of the Lord Buddha fully as a human being such as that in the Tri Bhumi (three worlds) Atlas, and probably because it was considered not appropriate to create the picture of the Lord Buddha on the back side of the board containing the footprint that was the lower part of the body.  Therefore, it was decided to create the symbolic system to represent the Lord Buddha, i.e. the picture of altar to be the seat of the Lord Buddha while attaining enlightenment, or the Vatchara-assana (diamond seat), resulting in the art style design of the engravings on both sides of the Phra Buddhapada board being of the symbolic system.
            In Thailand, the evidences of the engraving of the pictures of the group of devils and the Goddess of Earth squeezing water from her chignon were found tracing from at least the 18th Buddhist Century, such as the bronze altar as the seat of the Buddha image engraved as the picture of the Goddess of Earth touching the end of her hairs that is found at Wat Phra Si Rattana Maha That in Suphan Buri province which is of Cambodian art style dated about the 17-18 Buddhist Century.  The model of decorating with the engravings of the devil army and the picture of the Goddess of Earth squeezing water from her chignon at the altar of the Buddha image which is of the middle period Ayutthaya art style dated about the 21st – 22nd Buddhist Century is closely related to the older Cambodian art style, especially the clothing and posture of the devil army troopers.  So, the Cambodian art style that was an important foundation of art style in Ayutthaya since its beginning still remains to be seen in some aspects that are mixed in the middle period Ayutthaya art style created during the period of 21st – 22nd Buddhist Century.  Therefore, it can be said that the engraving of the picture of the devil army and the Goddess of Earth to tell the life history of the Lord Buddha in the episode of encountering and defeating the devils on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup should probably be also an example of Ayutthaya art style in the early period of the 21st Buddhist Century.
            As for the engraving of the picture of demons in the kneeling posture showing the muscular body shapes dressed with decorative collar band and strings strapped at the chest indicating the style of dressing in the early period.  Examples of this dressing style are the lime sculptures of the south Than Phaithi (lotus-flower-shaped pedestal) of the main pagoda of Wat Ratchaburana which is of the early period Ayutthaya art style dated from the final period of the 20th Buddhist Century.  The creation of the sculpture in the form of demons holding up the pedestal of pagoda is probably related to the belief on upholding Buddhism.  The altar that is the seat for the Lord Buddha while attaining enlightenment, or the Vatchara-assana, is considered to be a symbol of the Lord Buddha like the pagoda.  Therefore, the picture of demons holding up the seat of the Lord Buddha while attaining enlightenment on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup was created based on the same belief.

The Iconographical Meaning of the Wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup
            The symbol of 108 Mangala (blessings) decorations on the wooden Phra Buddhapada at Wat Phra Rup has the expressed meaning of the dominating over the universe status of the Lord Buddha and his merits that protect and provide blessings for those who worship or adhere to him as their savior.  The 108 Mangala decorations are arranged in a big Dhammacakka circle in the middle of the foot sole that is consistent with the scenery of the universe or the shape of the world that is in the circular line based on the concept in the World Science Scripture that enables the above-mentioned meaning to be more clearly tangible.  In the innermost circle there is the picture of a blossoming lotus which is probably the symbol of the Lord Buddha attaining enlightenment.  In the second circle there are the pictures that are symbols of fortune, progress, and abundance, i.e. the pictures of gardenia, swastika, the pot with flowers, the container with flowers, and lotus flower; the pictures that are symbols of prestige of the king or emperor indicating the honor, power, and nobleness, i.e. the pictures of flowers, altar, elephant scythe, double-edged sword, multiple-tiered umbrella; and the pictures that are symbols of virtues and merits, i.e. the picture of palm leaf fan.  In the third and fourth circles there are symbols in the group of realities in the universe, i.e. the ocean, universal mountain, Himmaphanta mountain, Sumeru mountain, the sun, the moon, big continents, small continents, Himmaphanta animals, six levels of Devaloka (world of gods), and 16 levels of Brahmaloka (world of Brahma).  It can be said that these meritorious symbols of 108 Mankala decorations are the symbols of Sugatibhumi (happy state of existence) in the universe starting from the good and blissful entities in the human world and proceeding toward the 6 levels of Devaloka and 16 level of Brahmaloka which are the dwelling places of the meritorious beings.  When all of these 108 Mankala are counted and combined, they indicate the condition of universal dominance of the Lord Buddha who is superior over all of the three worlds, i.e. Sattaloka (the world of animals or living things), Sankaraloka (the world of phenomena or all things that have been made up by pre-existing causes), and Okassaloka (the world as dwelling place of all living things).  This is because of the countless merits that he has accumulated.  All of these 108 Mankala appear only on the sole of his feet indicating his superiority as though he steps on all of the three worlds to make them lying under his feet.  In addition, the choice of creating the picture of life history of the Lord Buddha attaining enlightenment on the other side of the wooden board showing Phra Bodhisatta (a Buddha-to-be) attaining enlightenment to become the Lord Buddha who has acquired the knowledge of the universe also has the meaning consistent with the meaning of Phra Buddhapada on the other side of the board.